วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

WebQues




WebQuest



รูปภาพ  ตัวอย่าง WebQues

ความหมายของWebQues 


            WebQuest ผศ.ดร.วสันต์ อติศัพท์  ได้ให้คำจำกัดความภาษาไทยว่า “บทเรียนแสวงรู้บนเว็บ“  ซึ่งหมายถึงเว็บเพื่อการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถที่จะสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง  และ โอภาส  เกาไศยาภรณ์ ได้ให้ความหมายไว้ในวิทยานิพนธ์ว่า ”บทเรียนการแสวงรู้บนเว็บ (WebQuest) คือเป็นการใช้แหล่งความรู้ที่มีอยู่มากมายบนระบบอินเทอร์เน็ตมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยผู้สอนในรูปแบบของกิจกรรมและสมมติฐาน โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้มาบูรณาการ ฝึกนิสัยและทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า กระบวนการทำงานกลุ่มและการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ บนระบบอินเทอร์เน็ต”

           WebQuest เป็นเว็บที่มีการออกแบบนวัตกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสำเร็จรูปในลักษณะInquiry oriented activitiesที่ใช้แหล่งเรียนรู้ส่วนใหญ่หรือทั้งหมดจาก World Wide Web นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ที่กำหนดไว้ได้ ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบนี้ใช้แนวความคิดที่ต้องช่วยให้นักเรียนใช้เวลาในการสืบค้นและเรียนรู้อย่างอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด สามารถเข้าไปสืบค้นได้จากแหล่งเรียนรู้นั้น ๆ ได้เลย แทนที่จะเสียเวลาในการสืบค้นจากแหล่งอื่น ๆ ซึ่งอาจไม่มีข้อมูลหรือสารสนเทศที่ต้องการ
 

บทเรียนแบบ WebQuest จะต้องประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอนดังนี้ 

1. บทนำ ( Introduction) เป็นส่วนที่กำหนดขั้นตอน และให้ความรู้พื้นฐาน 
2. งาน ( Task) เป็นส่วนที่กำหนดว่าให้ผู้เรียนทำอะไร ซึ่งควรชัดเจน และเป็นเรื่องที่น่าสนใจ 
3. แหล่งข้อมูล ( Information sources) เป็นส่วนที่ช่วยให้ผู้เรียนทำงานที่กำหนดสำเร็จสมบูรณ์ ซึ่งแหล่งข้อมูลส่วนใหญ่(อาจไม่ทั้งหมด) อยู่ในเอกสารเดียวกันซึ่งทั้งนี้แหล่งข้อมูลดังกล่าวอาจหมายถึงเอกสารบนเว็บต่าง ๆ หรือ URL ที่เกี่ยวข้อง e-mail ของผู้ชำนาญการในเรื่องนั้น ๆ ฐานข้อมูลที่สามารถเข้าสืบค้นได้บนเว็บ ตลอดจนหนังสือวิชา การที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 
4. กระบวนการ ( Process) เป็นส่วนที่กำหนดให้ผู้เรียนกระทำตามขั้นตอนที่กำหนด เพื่อเข้าสู่วัตถุประสงค์ของงานหนึ่ง ๆ โดยปกติอยู่ในรูปแบบของกระบวนการที่มีคำอธิบายเป็นขั้น ๆ และเป็นลำดับ 
5. การประเมินผล ( Evaluation) เป็นส่วนที่กำหนดขึ้นเพื่อประเมินคุณภาพ 
6. บทสรุป ( Conclusion) เป็นส่วนที่ทำให้ภาพของคำถามกระจ่างชัด ทำให้ผู้เรียนรู้ว่าตนได้รับรู้อะไร และสามารถช่วยทำให้ผู้เรียนขยายผลการเรียนรู้ของตนเองออกไป 
นอกจากนี้ อาจมีลักษณะที่เป็นปัจจัยหลัก คือ ทำให้เกิดการทำงานเป็นกลุ่ม ( Group activity) มีองค์ประกอบที่จูงใจ ( Motivation elements) ในการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกสนาน เช่นการทำการทดลองคล้ายนักวิทยาศาสตร์ การสืบค้นคล้ายนักสืบ การรายงานที่ค้นพบคล้ายผู้รายงานข่าว เป็นต้น


ลักษณะของ WebQuest

                WebQuest แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนของครูผู้สอนและส่วนของนักเรียน

ส่วนของครูผู้สอน เป็นส่วนที่ผู้พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เขียนอธิบายหรือชี้แจงให้กับครูอื่นที่สนใจเข้ามาใช้ ประกอบด้วย

• บทนำ เป็นส่วนที่กล่าวถึงที่มาของกิจกรรมการเรียนรู้ บอกให้ทราบว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับเนื้อหาอะไร เกี่ยวกับนักเรียน เป็นส่วนที่บอกให้ทราบว่าเนื้อหากิจกรรมนั้นสำหรับนักเรียนชั้นใด นักเรียนควรมีความรู้ใดมาก่อนที่จะเรียนรู้กิจกรรมในเนื้อหานั้น ๆ
• มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นส่วนที่บอกให้ทราบว่าเนื้อหากิจกรรมนั้นสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ใด
• กระบวนการ เป็นส่วนที่บอกให้ทราบถึงการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องนี้ เช่น เวลาที่ใช้ เป็นการเรียนรู้วิชาเดี่ยว ๆ หรือหลายวิชาบูรณาการกัน มีแนวความคิดหลักใดที่นักเรียนอาจเกิด misconception ครูต้องมีทักษะใดบ้างในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดังกล่าว
• ทรัพยากร เป็นส่วนที่แสดงถึงทรัพยากรต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการจัดกิจกรรม เช่น หนังสือ websitesชนิดของซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ email ตลอดจนทรัพยากรบุคคล เป็นต้น
• การประเมินผล เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นว่า ในการเรียนรู้ของนักเรียนนั้น ครูจะต้องประเมินเรื่องใดบ้าง ชิ้นงานของนักเรียนมีอะไรบ้าง ที่ต้องประเมิน และใช้ rubric ในการประเมิน
• สรุป เป็นส่วนที่บอกให้ทราบถึงความสำคัญและคุณค่าของเนื้อหากิจกรรมนั้น ๆ
• แหล่งอ้างอิง เป็นส่วนที่แสดงให้ทราบถึงแหล่งของรูปภาพ เพลง เอกสาร ต่าง ๆ ที่ใช้ในการพัฒนากิจกรรม

ส่วนของนักเรียน เป็นส่วนที่ผู้พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เขียน อธิบายและชี้แจงนักเรียน

• บทนำ ส่วนนี้ผู้พัฒนาต้องพยายามกระตุ้นให้นักเรียนสนใจหรือเกิดความสงสัยที่จะติดตามเนื้อหากิจกรรม อาจเป็นรูปภาพ video clip หรือคำถาม เป็นต้น นอกจากนี้ยังให้นักเรียนทราบถึงการจัดการในการทำกิจกรรม
• ภาระงาน ส่วนนี้ต้องบอกนักเรียนให้ทราบถึงผลลัพธ์ที่นักเรียนต้องจัดทำขึ้นเมื่อจบกิจกรรมนี้แล้ว
• กระบวนการ ส่วนนี้ผู้พัฒนาต้องบอกนักเรียนให้ทราบถึง ขั้นตอนต่าง ๆ ที่นักเรียนต้องดำเนินการ ซึ่งในส่วนนี้จะมีคำถามต่าง ๆ ให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ ในการที่จะตอบได้ นักเรียนต้องทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการสืบค้นจาก website ต่าง ๆ ซึ่งผู้พัฒนากิจกรรมได้เข้าไปสืบค้นมาแล้ว
• สรุป ส่วนนี้ผู้พัฒนาต้องสรุปให้นักเรียนทราบว่า เมื่อจบกิจกรรมนั้น ๆ แล้วนักเรียนจะได้เรียนรู้อะไร รวมทั้งอาจทิ้งคำถามที่กระตุ้นให้นักเรียนขยายผลในสิ่งที่เรียนรู้
• การประเมินผล ส่วนนี้ผู้พัฒนาจะแสดงเกณฑ์การตัดสินและความหมายของคะแนนให้นักเรียนทราบ
• แหล่งอ้างอิง ส่วนนี้ผู้พัฒนาจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งอ้างอิงต่าง ๆ ที่นักเรียนศึกษาทั้งหด           

ประเภทของ WebQuest

ระยะสั้น (เรียนในห้อง 6 - 9 ชั่วโมง)

-         วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ผู้เรียนสามารถจับประเด็นความรู้ และเข้าใจถึงสาระของวิชาระยะยาว(เรียนในห้อง1สัปดาห์ -1 เดือน)
-         วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ผู้เรียนสามารถจับองค์ความรู้ ขยายผลของการเรียนรู้ สามารถสาธิตผลของความรู้ที่ได้รับในลักษณะรูปธรรม


กระบวนการของ WebQuest

1.  การระดมสมอง
2.   การสร้างความเห็นชอบที่เป็นเอกฉันท์
3.   การประเมินเนื้อหาบนเว็บ
4.   การใช้เอกสารจากแหล่งข้อมูลหลัก
5.   การใช้ภาพประกอบ

ประโยชน์ของWebQues 

       สนับสนุนให้ผู้เรียนได้เข้าถึงเนื้อหา ข้อมูลความรู้อย่างกว้างขวาง ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือก ซึมซับ เนื้อหาข้อมูลนั้นๆ ให้เหมาะกับตน ทั้งยังฝึกให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดในขั้นสูง ในระดับการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตลอดจนประเมินค่า อีกทั้งปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียนจะเป็นไปในเชิงบวก เนื่องจากเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงออกอย่างเต็มที่ทั้งด้านความคิดและความสามารถ ผนวกกับการออกแบบรูปแบบบทเรียนออนไลน์ที่ดีจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทบาทของตนเองได้ชัดเจน นำไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์ที่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้จะช่วยผลักดันให้กระบวนการเรียนการสอน เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขโดยแท้จริง


ที่มา http://www.pochanukul.com/?p=46
        http://edweb.sdsu.edu/webquest/webquestwebquest~ms.html 
        http://www.ipst.ac.th/it/rosegarden/somsri.htm
        http://learners.in.th/blog/kanokthip/238115

สืบค้น ณ วันที่ 16/02/56

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น