วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Tablet



แท็บเล็ท (Tablet)



ความหมายของ แท็บเล็ท (Tablet)

          "แท็บเล็ต - Tablet" ในความหมายแท้จริงแล้วก็คือแผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียน (อาจจะเป็นกระดาษ, ดิน, ขี้ผื้ง, ไม้, หินชนวน) และมีการใช้กันมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่ใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ซึ่งมีหลายบริษัทได้ให้คำนิยามที่แตกต่างกันไป หลักๆแล้วก็มี 2 ความหมายด้วยกันคือ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet Personal Computer)" และ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet"
 
         ในปัจจุบันถูกพัฒนาให้มีความสามารถใกล้เคียงเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คเลยทีเดียว เครื่องแท็บเล็ตพีซี มีขนาดไม่ใหญ่มากสามารถถือได้ด้วยมือเดียวและน้ำหนักเบากว่าเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค

แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)

          "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก ออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากหลังจากทาง Microsoft ได้ทำการเปิดตัว Microsoft Tablet PC ในปี 2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ Laptops ตรงที่อาจจะไม่มีแป้นพิมพ์ในการใช้งาน แต่อาจจะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน (มีแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอใช้การสัมผัสในการพิมพ์) "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน

แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือ แท็บเล็ต - Tablet

         "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม" ซึ่งทางบริษัท Apple ผู้ผลิต "ไอแพด - iPad" ได้เรียกอุปกรณ์ของตัวเองว่าเป็น "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" เครื่องแรก
 

ความแตกต่างระหว่าง "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ " และ "แท็บเล็ต พีซี "

        เริ่มแรก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" จะใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรม x86 ของ Intel เป็นพื้นฐานและมีการปรับแต่งนำเอาระบบปฏิบัติการหรือ OS ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ Personal Computer - PC มาทำให้สามารถใช้การสัมผัสในการทำงานได้ ตัวอย่างเช่น Windows 7 หรือ Ubuntu Linux แทนที่จะใช้แป้นพิมพ์คีย์บอร์ดหรือเมาส์ และเนื่องจากเป็นการรวมกันระหว่างระบบปฏิบัติการ Windows และหน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ของ Intel ทำให้มีคนเรียกกันว่า "Wintel"
 
         ต่อมาในปี 2010 ได้เกิดแท็บเล็ตที่แตกต่างจาก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ขึ้นมาโดยไม่มีการยึดติดกับ Wintel แต่ไปใช้ระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนนั่นก็คือ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือเรียกสั้นๆว่า แท็บเล็ต - Tablet" ซึ่งจะใช้หน้าจอแบบ capacitive แทนที่ resistive ทำให้สามารถสัมผัสโดยการใช้นิ้วได้โดยตรงและสัมผัสพร้อมกันทีละหลายจุดได้หรือ multi-touch ประกอบกับการใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรม ARM แทนซึ่งสถาปัตยกรรม ARM นี้ทำให้แท็บเล็ตนั้นมีการใช้งานได้ยาวนานกว่าสถาปัตยกรรม x86 ของ Intel หลายๆคนคงจะรู้จักแท็บเล็ตตัวนี้กันเป็นอย่างดีนั้นก็คือ ไอแพด (iPad) นั้นเอง

Tablet เอามาใช้ทำอะไรได้บ้าง? 

- เล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลงครบครับสำหรับด้าน Multimedia 

- เล่น Internet ผ่าน wifi หรือ เทคโนโลยี 3G/4G ได้อย่างยอดเยี่ยม 

- อ่าน Ebook ไฟล์การ์ตูน ไฟล์ Word PDF ไฟล์รูปต่างๆได้ชัดมากครับ อย่างขนาดจอ 7 นิ้วดู Pocket Book ได้เท่าขนาดจริงเลย

- Check Email พิมพ์งานหรือทำงานได้ครับ แต่ในข้อนี้จะด้อยกว่า Notebook 



รูปภาพ  Tablet

Tablet แบนด์จากจีน กับ Ipad ต่างกันอย่างไร เลือกซื้อแบบไหนดี?

    ในหัวข้อนี้จะอธิบายรวมไปถึงแบนด์อื่นๆ ที่ไม่ใช่เฉพาะของ Ipad เท่านั้น จะได้เห็นภาพรวมทั้งหมดของ Tablet ในไทยของปัจจุบันด้วย

แบ่ง Tablet ตามแบนด์หลักๆได้ 2 ประเภทตามนี้

1.Band ที่มียี่ห้อ เช่น Apple/Samsung/Acer 

       แบนด์กลุ่มนี้แทบไม่ต้องอธิบายอะไรกันมากครับเพราะคำอธิบายอยู่ที่ตัวแบนด์อยู่แล้ว ที่เด่นๆในปัจจุบันก็คงเป็น Apple กับ Samsung ครับ การใช้งานการประกันดีครับ (ขึ้นอยู่กับซื้อเครื่องศูนย์หรือหิ้วครับ) แต่ก็มาพร้อมกับราคาที่สูงครับ ราคาเริ่มต้นที่ 1x,xxx บ. ขึ้นครับ 

2.Band นำเข้าจากจีน 

       แบนด์กลุ่มนี้เข้ามาตีตลาดในราคาที่ถูกกว่าเพราะต้นทุนที่ถูกกว่าครับ และเนื่องจากแบนด์ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ราคาจึงไม่สูงมากครับ สามารถแบ่งย่อยไปได้อีก 3 ประเภทตามนี้

       2.1 แบนด์นำเข้าจากจีนยี่ห้อดังๆ เรียงลำดับความนิยมคือ Ainol-Onda-Ramos เป็นกลุ่มแบนด์ที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่นิยมในไทย โดย เฉพาะ Ainol และ Onda ปัญหาตัวเครื่องน้อยมาก ในขณะที่ Spec ของตัวเครื่องสูงครับแต่ราคาก็สูงกว่าประเภทอื่นๆของจีนประมาณหลัก ร้อยถึงพัน ถึงแม้จะไม่เท่าพวกแบนด์ดังๆแต่ก็เทียบเคียงได้ทีเดียวราคาอยู่ที่ประมาณ 3,xxx-8,xxx 
     2.2 แบนด์ที่นำเข้าโดยบริษัทในไทย จะเน้นต้นทุนถูกเป็นหลัก Spec ของรุ่นไม่สูงมาก ส่วนตัวแล้วคงต้องลองไล่ดูที่ Spec กับราคาอีกที
     2.3 Tablet ทั่วๆไป (ไม่มีแบนด์) กลุ่มนี้พูดได้เลยว่าหากคิดว่าซื้อมาแล้วต้องการความสามารถระดับเดียวกับ Ipad ขอให้มองข้ามไปได้เลย  โดยเฉพาะพวกไม่มีแบนด์หากหวังว่าซื้อมาถูกๆ แต่เสียแล้วไปซ่อมก็ได้ ขอบอกว่าคิดผิด เพราะซ่อมทีก็หลักพันแล้วครับ ไม่คุ้ม แน่นอน เน้นใช้แล้วทิ้ง จะซื้อกลุ่มนี้ต้องหาข้อมูลมากๆ ท่าจะสุ่มซื้อคือตาดีได้ตาร้ายเสียข้อดีคือราคาถูก ส่วน Spec ต้องดูอีก 
ทีว่าตรงหรือไม่


ซื้ออย่างไรให้ถูกใจ? 

      อันนี้คงต้องดูกันที่ Spec ของเครื่องครับว่าเน้นการใช้งานแบบไหนครับ ซึ่งปัจจัยส่วนนี้ก็มีผลต่อราคาครับ แบ่งการพิจารณาในการเลือกซื้อได้เป็น 3 ประเภท

1.ความเร็ว CPU อันนี้มีผลต่อความเร็วของเครื่อง เช่น การเปิดเครื่อง การเล่นเกมไม่กระตุก 
2.ขนาดหน้าจอ อันนี้แล้วแต่ชอบเลย ขนาดที่นิยมมี 7 นิ้ว กับ 9.7 นิ้ว(ขนาดเท่า Ipad)  แต่ยิ่งจอใหญ่มีก็ยิ่งใช้ไฟจากแบตมากขึ้น ส่งผลให้ระยะเวลาการใช้งานน้อยลง
3.แบตเตอรี่อันนี้อาจส่งต่อราคาน้อย แต่หากใครต้องการใช้งานนานหน่อยก็เลือกซื้อที่ประจุแบตมากๆ

ประโยชน์ของTablet

- ความสะดวกสะบายในการใช้งานและพกพา Tablet ค่อนข้างเบาบางกว่า ถือง่ายกว่าพวก Notebook อันนี้สำคัญมากอย่างเวลา อ่านEbook หรือไฟล์การ์ตูนสามารถนอนอ่านเพลินเลย ข้อนี้ถือว่าสำคัญมาก

- เวลาเปิดเครื่อง Boot ได้เร็วกว่าคอมครับ การเช็ค Email หรือทำงานเล็กๆน้อยๆ หรือแม้แต่เข้าสื่อออนไลน์ อย่าง Facebook สะดวกกว่ามาก เปิดเครื่องประมาณ 10 วินาทีก็ใช้งานได้แล้ว

- Tablet โดยทั่วไปในปัจจุบันสามารถรองรับ Android ได้หมดแล้ว ถือเป็นจุดแข็งของ Tablet ยุคนี้เลย เพราะทั้งโปรแกรมและเกมนั้น เล่นได้ FREE ครับ(ถึงบางโปรแกรม-เกมจะเสียตังค์ซื้อแต่ก็หาโหลดเป็น .apk ได้ฟรีๆ) ไม่ว่าจะเป็น Tablet แบนด์ดังๆหรือ Tablet จีนก็ใช้ Software ตัวเดียวกัน เกมที่เล่นก็เกมเดียวกัน

- จอเป็นระบบสัมผัสหน้าจอ (Touch Screen) ซื่งหาซื้อได้ในราคาไม่แพง ทำให้รองรับการใช้งานและเล่นเกมได้หลากหลายมากขึ้น 

ที่มา http://www.mict.go.th/ewt_news.php?nid=5282
        http://www.pantipmarket.com/items/12532792

สืบค้น ณ วันที่ 16/02/56

Social Media



Social Media




        ทุกวันนี้ พวกเราหลายคนใช้ชีวิตอยู่กับ Social Network และ Social Media มากขึ้นทุกวัน แต่พอพูดถึง ‘Social Media’ ว่าคืออะไร หลายคนที่ใช้อยู่ ก็ยังถึงกับอึ้ง และตอบไม่ได้ว่ามันคืออะไร และไม่รู้จะอธิบายอย่างไร  วันนี้ Marketing Oops! เลยขอทำหน้าที่อธิบายคำๆ นี้แทน  เพื่อให้คนที่ใช้เป็นประจำอยู่แล้วสามารถอธิบายต่อให้คนอื่นทราบได้ และสำหรับคนที่ยังไม่เคยรู้ ก็สามารถทำความรู้จักได้เช่นกัน

ความหมาย

Social ในที่นี้หมายถึง สังคมออนไลน์

Media ในที่นี้หมายถึง เนื้อหา เรื่องราว และบทความ

        Social Media จึงหมายถึงสังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่า เนื้อหา เรื่องราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทำขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตน ผ่านทางเว็บไซต์ Social Network ที่ให้บริการบนโลกออนไลน์  ปัจจุบัน การสื่อสารแบบนี้ จะทำผ่านทาง Internet และโทรศัพท์มือถือเท่านั้น
เนื้อหาของ Social Media โดยทั่วไปเปรียบได้หลายรูปแบบ ทั้ง กระดานความคิดเห็น (Discussion boards), เว็บบล็อค (Weblogs), วิกิ (wikis), Podcasts, รูปภาพ และวิดีโอ  ส่วนเทคโนโลยีที่รองรับเนื้อหาเหล่านี้ก็รวมถึง เว็บบล็อค (Weblogs), เว็บไซต์แชร์รูปภาพ, เว็บไซต์แชร์วิดีโอ, เว็บบอร์ด, อีเมล์, เว็บไซต์แชร์เพลง, Instant Messaging, Tool ที่ให้บริการ Voice over IP เป็นต้น


เว็บไซต์ ที่ให้บริการ Social Network หรือ Social Media

1. Google Group – เว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networking




2.Wikipedia – เว็บไซต์ในรูปแบบข้อมูลอ้างอิง




3.MySpace – เว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networking





4.Facebook -เว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networking




5.MouthShut – เว็บไซต์ในรูปแบบ Product Reviews





6.Yelp – เว็บไซต์ในรูปแบบ Product Reviews






7. Youmeo – เว็บที่รวม Social Network






8. Last.fm – เว็บเพลงส่วนตัว Personal Music






9. YouTube – เว็บไซต์ Social Networking และ แชร์วิดีโอ




10. Avatars United  – เว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networking





11. Second Life – เว็บไซต์ในรูปแบบโลกเสมือนจริง Virtual Reality




12. Flickr – เว็บแชร์รูปภาพ




เว็บ Social Media แบ่งตามหมวด

หมวดการสื่อสาร (Communication)

Blogs: Blogger, LiveJournal, TypePad, WordPress, Vox
Internet forums: vBulletin, phpBB
Micro-blogging: Twitter,Plurk, Pownce, Jaiku
Social networking: Avatars United, Bebo, Facebook, LinkedIn, MySpace, Orkut, Skyrock, Netlog, Hi5, Friendster, Multiply
Social network aggregation: FriendFeed, Youmeo
Events: Upcoming, Eventful, Meetup.com

หมวดความร่วมมือ และแบ่งปัน (Collaboration)

Wikis: Wikipedia, PBwiki, wetpaint
Social bookmarking: Delicious, StumbleUpon, Stumpedia, Google Reader, CiteULike
Social news: Digg, Mixx, Reddit
Opinion sites: epinions, Yelp

หมวด มัลติมีเดีย (Multimedia)

Photo sharing: Flickr, Zooomr, Photobucket, SmugMug
Video sharing: YouTube, Vimeo, Revver
Art sharing: deviantART
Livecasting: Ustream.tv, Justin.tv, Skype
Audio and Music Sharing: imeem, The Hype Machine, Last.fm, ccMixter

หมวดรีวิว และแสดงความคิดเห็น (Reviews and Opinions)

Product Reviews: epinions.com, MouthShut.com, Yelp.com
Q&A: Yahoo Answers

หมวดบันเทิง (Entertainment)

Virtual worlds: Second Life, The Sims Online
Online gaming: World of Warcraft, EverQuest, Age of Conan, Spore (2008 video game)
Game sharing: Miniclip

ประโยชน์ของ Social media 

1. ช่วยในการลดต้นทุน หรือว่ารายจ่ายในการใช้ทำการโฆษณา ซึ่งเป็นเครื่องมือในการสื่อสารข้อความต่างๆ ไม่ว่าของตนเองหรือขององค์กรออกไปยังคนกลุ่มหนึ่ง บางคนก็เรียกเป็นกลยุทธ์ปากต่อปาก หรือ Viral Marketing การโฆษณาธุรกิจของคุณแบบฟรีๆนั่นเอง แทนที่จะเป็นการใช้สื่อโฆษณาแบบเดิมๆ เช่น โฆษณาบนทีวี สปอตวิทยุ หรือว่าป้ายโฆษณาบนทางด่วนเป็นต้น

2. นอกจากจะเป็นสื่อในการส่งข้อความแล้ว เรายังสามารถใช้เว็บสังคมออนไลน์เป็นที่ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับองค์กรที่เราทำงาน เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่เราใช้ หรือเกี่ยวกับการเมือง และเศรษฐกิจจะเห็นได้ว่าการที่เพื่อนเรา รวมทั้งตัวเรานั้น ได้พูดถึงสินค้า หรือว่าของอะไรซักอย่างนั้น ดูแล้วจะมีน้ำหนัก แล้วก็ความน่าเชื่อถือมากกว่าสื่อ หรือว่า Media อื่นๆ ยิ่งไปกว่านั้น การที่สิ่งต่างๆ ที่ได้รับการพูดถึง หรือว่าความคิดเห็นที่มีต่อการได้ใช้สินค้านั้นๆ ก็ได้เกิดขึ้นมาจากประสพการณ์ของพวกเค้า หรือว่าคนซื้อเหล่านั้นโดยตรง ซึ่งถ้าหากเราในฐานะนักการตลาดได้ฟังความคิดเห็น หรือว่าข้อคิด รวมทั้งคำติชมต่างๆ ที่ได้รับมาจากพวกเค้าเหล่านั้น และนำมาปรับปรุงสินค้า และ บริการให้ดียิ่งขึ้นแล้วนั้น น่าจะส่งผลให้กับรายได้และภาพลักษณ์ขององค์กร หรือบริษัทของเราดีให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

ที่มา http://www.marketingoops.com/digital/social-media/what-is-social-media

สืบค้น ณ วันที่ 16/02/56

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Video Conference



Video Conference


รูปภาพ ตัวอย่างการประชุมทางไกลผ่านVideo Conference

ความหมาย 

          การประชุมทางไกล (Videoconference) คือ การนำเทคโนโลยีสาขาต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ กล้องโทรทัศน์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เป็นการประชุมที่ผู้เข้าร่วมประชุมอยู่กันคนละสถานที่ ไม่จำกัดระยะทาง สามารถประชุมร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ การส่งข้อความและภาพสามารถส่งได้ทั้งทางสายโทรศัพท์ คลื่นไมโครเวฟ สายไฟเบอร์ออฟติกของระบบเครือข่าย และการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม โดยการบีบอัดภาพ เสียงและข้อความ กราฟิกต่างๆ ไปยังสถานที่ประชุมต่างๆ ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเห็นภาพและข้อความต่างๆ เพื่ออภิปรายร่วมกันได้เพื่อสนับสนุนในการประชุมให้มีประสิทธิภาพ

ความสำคัญ 

          Video conference หรือการประชุมทางไกล ถูกออกแบบมาเพื่อให้คนหรือกลุ่ม คน ซึ่งอยู่กันคนละสถานที่สามารถติดต่อกันได้ทั้งภาพและเสียง โดย ผ่านทางจอภาพซึ่งอาจเป็นคอมพิวเตอร์หรืโทรทัศน์ ผู้ชมที่ฝั่งหนึ่งจะเห็นภาพของอีกฝั่งหนึ่งปรากฏอยู่บนจอโทรทัศน์ของ ตัวเองและ ภาพของตัวเองก็จะไปปรากฏยังโทรทัศน์ของฝั่งตรงข้ามเช่นเดียวกัน คุณภาพของภาพและเสียงที่ได้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางสื่อสารที่ ใช้เชื่อมต่อระหว่างทั้งสองฝั่งอุปกรณ์ที่ต้องมีในระบบประชุมทางไกลนี้ ก็ ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์, ลำโพง, ไมโครโฟน, กล้อง และอุปกรณ์ Codec ซึ่งเป็นตัวเข้ารหัสสัญญาณภาพและเสียงที่ได้จากกล้องและไมโครโฟน ส่ง ผ่านเส้นทางสื่อสารไปยังอีกฝั่งหนึ่ง รวมถึงถอดรหัสสัญญาณที่ได้รับ มาอีกฝั่งให้กลับเป็นสัญญาณภาพและเสียงแสดงบนจอและลำโพงนั่นเองเส้นทางสื่อสารขนาด 384 Kbps ขึ้นไปก็สามารถให้คุณภาพภาพในระดับที่ยอมรับได้ โดยอาจใช้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ISDN หรือ ATM เป็นต้น 

ข้อดีของการประชุมทางไกล

 คือ สามารถให้ความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกัน ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งจะประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย และยังช่วยแก้ปัญหาจราจรได้ทางหนึ่ง 

การติดตั้งระบบ Video Conference

       ระบบ Video Conference นี้ จะช่วยให้งานประชุมหรืองานการเรียน การสอนที่อยู่ต่างสถานที่กันในหลายจุดได้มาประชุมเสมือนอยู่ในห้อง เดียวกัน มีประธานในการประชุม สามารถ share งานต่างๆ ในแต่ละจุดให้เห็นเหมือนกัน เสนอผ่านความเห็นต่างๆ ได้ เช่น การ Share Whiteboard, PowerPoint, Worksheet เป็นต้น งานประชุมหรืองานการเรียนการสอน สามารถดำเนินไปได้ อย่างสะดวกรวดเร็ว ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย รวมทั้งเป็นการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

อุปกรณ์ในระบบ Video Conference มีอุปกรณ์เบื้องต้น ดังนี้ 

1. ชุดอุปกรณ์ Codec ระบบบีบอัดข้อมูลและรับส่ง จัดการระบบการประชุม
2. กล้องจับภาพ ปกติจะมาพร้อมชุดอุปกรณ์ Codec
3. กล้องจับภาพ (เสริม) เป็นชนิดกล้องวิดีโอ เช่น กล้อง Mini-DV ใช้ในกรณีของการประชุมใหญ่ๆ และพื้นที่ ห้องประชุมคับแคบ จำเป็นต้องเพิ่มกล้องช่วยจับภาพ
4.อุปกรณ์นำเสนอต่างๆ เช่น ไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องนำเสนอวัตถุ 3 มิติ เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เป็นต้น
5.จอรับภาพ โดยทั่วไปจะเป็นจอฉากใหญ่ที่รับภาพจาก Projector และอาจเพิ่มได้ตามขนาดห้อง หรือขนาด ความจุผู้เข้าประชุม ซึ่งเพิ่มเป็นถึง 4 จอ คือ จอภาพสำหรับนำเสนอ, จอผู้พูดฝั่ง Near, จอผู้พูดฝั่ง Far และจอบันทึกการประชุม
6.ระบบเครื่องเสียงชุดประชุม ซึ่งมีทั้งเครื่องควบคุม เครื่องขยายเสียง เครื่องผสมสัญญาณเสียง ลำโพงและ ไมโครโฟนอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ จะใช้งบประมาณเริ่มต้นเพียง 200,000 - 300,000 บาท (สำหรับระบบขนาดเล็ก ไม่ใหญ่มากนัก) ขึ้นอยู่กับ ระดับคุณภาพของอุปกรณ์ 

หลักเบื้องต้นการติดตั้ง มีดังนี้ 

1.เชื่อมต่อสัญญาณภาพและเสียงอุปกรณ์ทั้งหมดให้เรียบร้อย ได้แก่ Codec-Network-กล้องเสริม-จอ
โทรทัศน์-Projector-เครื่องนำเสนอ-Computer-เครื่องบันทึก-ระบบเสียงชุดประชุม (ตามความต้องการใช้งาน)
2.เชื่อมต่อ Codec เข้ากับระบบ Network (ขั้นตอนนี้ต้องประสานกับฝ่าย Network เพื่อ Config IP ให้กับ
Codec)
3.ทดสอบการแสดงผลของภาพและเสียงในฝั่งของตนเองให้ถูกต้อง เมื่อติดตั้งและทดสอบเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ ทำ การติดต่อกับอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อทำการทดสอบ Conference ระหว่างวิทยาเขตต่อไป

หลักในการจัดวางตำแหน่งอุปกรณ์ระบบการประชุมทางไกล 

1.กล้องจะต้องวางในตำแหน่งท้ายโต๊ะประชุม และอยู่กึ่งกลางห้องประชุม ยึดหลักให้สามารถจับภาพผู้เข้า ประชุมได้ทุกคน แต่หากมีปัญหาเรื่องพื้นที่ ไม่สามารถวางตำแหน่งดังกล่าวได้ แก้ไขโดยเพิ่มกล้องเสริม และ เปลี่ยนตำแหน่งจับภาพกล้องละด้าน เช่น กล้องหลักวางด้านซ้าย กล้องเสริมวางด้านขวา จำไว้ว่ากล้อง 2 ตัว ต้องแบ่งหน้าที่อิสระจากกัน จับภาพด้านของตัวเองเท่านั้น
2.ลำโพงเสียง กรณีเป็นชุดประชุม ลำโพงจะติดที่ไมโครโฟน ไม่สามารถเปลี่ยนตำแหน่งได้ เพราะจะอยู่บนโต๊ะ (การแก้ปัญหาเสียงหอน ใช้เทคนิคการปรับแต่งเสียง) แต่กรณีเป็นระบบเสียงแยกอิสระ ลำโพง ควรอยู่ไกล ตำแหน่งไมค์ให้มากที่สุด และอยู่สูง หันทิศทางให้กระจายเสียงได้ทั่วห้องประชุม เพื่อแก้ปัญหาทางเสียงได้ดี ที่สุด
3.อุปกรณ์เครื่องนำเสนอต่างๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ เครื่องทึบแสง เป็นต้น เหล่านี้ไม่ค่อยมีปัญหาจะจัดตาม หลักการจัดห้องประชุมอยู่แล้ว
4.อุปกรณ์ชุดควบคุมเสียงและระบบบันทึกภาพ ควรอยู่ด้วยกัน เพื่อสามารถควบคุมได้ทันท่วงที ขั้นตอนการทำงานของระบบเริ่มจากการแปลงสัญญาณภาพและเสียงจากระบบอะนาล็อกให้เป็นดิจิตอลแล้ว
ส่งไปถึงผู้รับ จากนั้นอุปกรณ์สื่อสารของผู้รับก็จะแปลงสัญญาณดิจิตอลกลับมาเป็นภาพและเสียงให้ผู้ชมเห็นและได้ยิน สำหรับภาพที่เห็นนั้นอาจติดตั้งให้ภาพปรากฏบนจอรับภาพในห้องประชุมก็ได้ หรืออาจสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ได้ทั้งคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะและกระเป๋าหิ้ว ซึ่งทำให้การประชุมสื่อสารระหว่างบุคคลมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น 

รูปภาพ  การเรียนการสอนผ่านระบบ  Video Conference

สรุปและบทบาท 

การประชุมทางไกล การติดต่อสื่อสารต่างๆ ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างล้ำหน้า ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลต่างๆที่ทันสมัยรวดเร็วตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจประเภทต่างๆได้ และการติดต่อสื่อสารประเภทหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมก็คือ การประชุมทางไกล โดยอาศัยอุปกรณ์สื่อสารสมัยใหม่ การประชุมทางไกลโดยการจัดอุปกรณ์ให้ผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งอยู่คนละสถานที่กันสามารถประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้โดยใช้อุปกรณ์ สื่อสาร เราเรียกการประชุมแบบนี้ว่า Teleconference ในกรณีที่การประชุมนั้นมีอุปกรณ์ที่ทำให้เห็นภาพ และได้ยินเสียงของผู้เข้าร่วมประชุมไปพร้อมกันด้วยเราเรียก Video Conference มีอุปกรณ์ที่สำคัญ คือ กล้อง ไมโครโฟน และจอรับภาพ สำหรับประเทศไทยได้มีหน่วยงานทั้งภาพรัฐและเอกชนที่ให้บริการในลักษณะ Video Conference เช่น การสื่อสารแห่ประเทศไทย โรงแรมบางแห่งและบริษัทผู้ประกอบกิจการด้านโทรคมนาคม ซึ่งจะทำให้บริการประชุมทางไกลทั้งในประเทศและระหว่างประเทศโดยใช้บริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล หรือ ISDN ซึ่งเป็นเครือข่ายที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร และคอมพิวเตอร์ที่ทำงานกันคนละระบบ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกรวดเร็วขึ้น การประชุมแบบจอภาพ Video Conference
ผ่านระบบเครือข่ายISDN จึงถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ ทันสมัย สามารถติดต่อสื่อสารทางไกลกับอีกซีกโลกหนึ่งในลักษณะมัลติมีเดียได้อย่างครบถ้วนในเวลาเดียว จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและพัฒนาธุรกิจให้รุดหน้าได้เร็ว การกระจายข้อมูล การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ บริการแบบโต้ตอบในเวลาเดียวกัน บริการแบบโต้ตอบในเวลาเดียวกัน (synchronous) คล้ายกับบริการแบบถ่ายทอดสารสนเทศ ที่กำหนดให้ผู้สื่อสารต้องส่งและรับสารในเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ตามรูปแบบของบริการนี้ การสื่อสารจะเป็นแบบสมมาตร (symmetric)หรือสามารถโต้ตอบกันได้ (interactive) นั่นเอง จะว่าไปแล้ว การสื่อสารแบบนี้คล้ายกับการสื่อสารด้วยการสนทนาในอดีต หากแต่ไม่มีข้อจำกัดด้านระยะทางเท่านั้น เราจึงมักพบคำที่ชี้ถึง "ระยะทางไกล" ในบริการประเภทนี้ เช่น การสาธารณสุขวิถีไกล (telemedicine) การศึกษาวิถีไกล (remote learning) หรือ โทรสัมมนา (teleconference) เป็นต้น 


ประโยชน์ของVideo Conference 

        ใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระยะไกล ที่ลดเวลา ลดต้นทุนงบประมาณ การสื่อสารในปัจจุบัน
ช่วยให้การดำเนินชีวิตคนเรามีความสะดวก สบายมากขึ้น ปัจจุบันผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ ที่มีเครือข่าย
อยู่ทั่วประเทศสามารถประชุมกันได้ โดยไม่ต้องมาเข้าห้องประชุมที่เดียวกัน


ที่มา www,peak.co,th 
        www,av-shopping,com

สืบค้น ณ วันที่ 16/02/56


WebQues




WebQuest



รูปภาพ  ตัวอย่าง WebQues

ความหมายของWebQues 


            WebQuest ผศ.ดร.วสันต์ อติศัพท์  ได้ให้คำจำกัดความภาษาไทยว่า “บทเรียนแสวงรู้บนเว็บ“  ซึ่งหมายถึงเว็บเพื่อการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถที่จะสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง  และ โอภาส  เกาไศยาภรณ์ ได้ให้ความหมายไว้ในวิทยานิพนธ์ว่า ”บทเรียนการแสวงรู้บนเว็บ (WebQuest) คือเป็นการใช้แหล่งความรู้ที่มีอยู่มากมายบนระบบอินเทอร์เน็ตมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยผู้สอนในรูปแบบของกิจกรรมและสมมติฐาน โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้มาบูรณาการ ฝึกนิสัยและทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า กระบวนการทำงานกลุ่มและการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ บนระบบอินเทอร์เน็ต”

           WebQuest เป็นเว็บที่มีการออกแบบนวัตกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสำเร็จรูปในลักษณะInquiry oriented activitiesที่ใช้แหล่งเรียนรู้ส่วนใหญ่หรือทั้งหมดจาก World Wide Web นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ที่กำหนดไว้ได้ ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบนี้ใช้แนวความคิดที่ต้องช่วยให้นักเรียนใช้เวลาในการสืบค้นและเรียนรู้อย่างอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด สามารถเข้าไปสืบค้นได้จากแหล่งเรียนรู้นั้น ๆ ได้เลย แทนที่จะเสียเวลาในการสืบค้นจากแหล่งอื่น ๆ ซึ่งอาจไม่มีข้อมูลหรือสารสนเทศที่ต้องการ
 

บทเรียนแบบ WebQuest จะต้องประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอนดังนี้ 

1. บทนำ ( Introduction) เป็นส่วนที่กำหนดขั้นตอน และให้ความรู้พื้นฐาน 
2. งาน ( Task) เป็นส่วนที่กำหนดว่าให้ผู้เรียนทำอะไร ซึ่งควรชัดเจน และเป็นเรื่องที่น่าสนใจ 
3. แหล่งข้อมูล ( Information sources) เป็นส่วนที่ช่วยให้ผู้เรียนทำงานที่กำหนดสำเร็จสมบูรณ์ ซึ่งแหล่งข้อมูลส่วนใหญ่(อาจไม่ทั้งหมด) อยู่ในเอกสารเดียวกันซึ่งทั้งนี้แหล่งข้อมูลดังกล่าวอาจหมายถึงเอกสารบนเว็บต่าง ๆ หรือ URL ที่เกี่ยวข้อง e-mail ของผู้ชำนาญการในเรื่องนั้น ๆ ฐานข้อมูลที่สามารถเข้าสืบค้นได้บนเว็บ ตลอดจนหนังสือวิชา การที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 
4. กระบวนการ ( Process) เป็นส่วนที่กำหนดให้ผู้เรียนกระทำตามขั้นตอนที่กำหนด เพื่อเข้าสู่วัตถุประสงค์ของงานหนึ่ง ๆ โดยปกติอยู่ในรูปแบบของกระบวนการที่มีคำอธิบายเป็นขั้น ๆ และเป็นลำดับ 
5. การประเมินผล ( Evaluation) เป็นส่วนที่กำหนดขึ้นเพื่อประเมินคุณภาพ 
6. บทสรุป ( Conclusion) เป็นส่วนที่ทำให้ภาพของคำถามกระจ่างชัด ทำให้ผู้เรียนรู้ว่าตนได้รับรู้อะไร และสามารถช่วยทำให้ผู้เรียนขยายผลการเรียนรู้ของตนเองออกไป 
นอกจากนี้ อาจมีลักษณะที่เป็นปัจจัยหลัก คือ ทำให้เกิดการทำงานเป็นกลุ่ม ( Group activity) มีองค์ประกอบที่จูงใจ ( Motivation elements) ในการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกสนาน เช่นการทำการทดลองคล้ายนักวิทยาศาสตร์ การสืบค้นคล้ายนักสืบ การรายงานที่ค้นพบคล้ายผู้รายงานข่าว เป็นต้น


ลักษณะของ WebQuest

                WebQuest แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนของครูผู้สอนและส่วนของนักเรียน

ส่วนของครูผู้สอน เป็นส่วนที่ผู้พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เขียนอธิบายหรือชี้แจงให้กับครูอื่นที่สนใจเข้ามาใช้ ประกอบด้วย

• บทนำ เป็นส่วนที่กล่าวถึงที่มาของกิจกรรมการเรียนรู้ บอกให้ทราบว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับเนื้อหาอะไร เกี่ยวกับนักเรียน เป็นส่วนที่บอกให้ทราบว่าเนื้อหากิจกรรมนั้นสำหรับนักเรียนชั้นใด นักเรียนควรมีความรู้ใดมาก่อนที่จะเรียนรู้กิจกรรมในเนื้อหานั้น ๆ
• มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นส่วนที่บอกให้ทราบว่าเนื้อหากิจกรรมนั้นสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ใด
• กระบวนการ เป็นส่วนที่บอกให้ทราบถึงการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องนี้ เช่น เวลาที่ใช้ เป็นการเรียนรู้วิชาเดี่ยว ๆ หรือหลายวิชาบูรณาการกัน มีแนวความคิดหลักใดที่นักเรียนอาจเกิด misconception ครูต้องมีทักษะใดบ้างในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดังกล่าว
• ทรัพยากร เป็นส่วนที่แสดงถึงทรัพยากรต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการจัดกิจกรรม เช่น หนังสือ websitesชนิดของซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ email ตลอดจนทรัพยากรบุคคล เป็นต้น
• การประเมินผล เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นว่า ในการเรียนรู้ของนักเรียนนั้น ครูจะต้องประเมินเรื่องใดบ้าง ชิ้นงานของนักเรียนมีอะไรบ้าง ที่ต้องประเมิน และใช้ rubric ในการประเมิน
• สรุป เป็นส่วนที่บอกให้ทราบถึงความสำคัญและคุณค่าของเนื้อหากิจกรรมนั้น ๆ
• แหล่งอ้างอิง เป็นส่วนที่แสดงให้ทราบถึงแหล่งของรูปภาพ เพลง เอกสาร ต่าง ๆ ที่ใช้ในการพัฒนากิจกรรม

ส่วนของนักเรียน เป็นส่วนที่ผู้พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เขียน อธิบายและชี้แจงนักเรียน

• บทนำ ส่วนนี้ผู้พัฒนาต้องพยายามกระตุ้นให้นักเรียนสนใจหรือเกิดความสงสัยที่จะติดตามเนื้อหากิจกรรม อาจเป็นรูปภาพ video clip หรือคำถาม เป็นต้น นอกจากนี้ยังให้นักเรียนทราบถึงการจัดการในการทำกิจกรรม
• ภาระงาน ส่วนนี้ต้องบอกนักเรียนให้ทราบถึงผลลัพธ์ที่นักเรียนต้องจัดทำขึ้นเมื่อจบกิจกรรมนี้แล้ว
• กระบวนการ ส่วนนี้ผู้พัฒนาต้องบอกนักเรียนให้ทราบถึง ขั้นตอนต่าง ๆ ที่นักเรียนต้องดำเนินการ ซึ่งในส่วนนี้จะมีคำถามต่าง ๆ ให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ ในการที่จะตอบได้ นักเรียนต้องทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการสืบค้นจาก website ต่าง ๆ ซึ่งผู้พัฒนากิจกรรมได้เข้าไปสืบค้นมาแล้ว
• สรุป ส่วนนี้ผู้พัฒนาต้องสรุปให้นักเรียนทราบว่า เมื่อจบกิจกรรมนั้น ๆ แล้วนักเรียนจะได้เรียนรู้อะไร รวมทั้งอาจทิ้งคำถามที่กระตุ้นให้นักเรียนขยายผลในสิ่งที่เรียนรู้
• การประเมินผล ส่วนนี้ผู้พัฒนาจะแสดงเกณฑ์การตัดสินและความหมายของคะแนนให้นักเรียนทราบ
• แหล่งอ้างอิง ส่วนนี้ผู้พัฒนาจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งอ้างอิงต่าง ๆ ที่นักเรียนศึกษาทั้งหด           

ประเภทของ WebQuest

ระยะสั้น (เรียนในห้อง 6 - 9 ชั่วโมง)

-         วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ผู้เรียนสามารถจับประเด็นความรู้ และเข้าใจถึงสาระของวิชาระยะยาว(เรียนในห้อง1สัปดาห์ -1 เดือน)
-         วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ผู้เรียนสามารถจับองค์ความรู้ ขยายผลของการเรียนรู้ สามารถสาธิตผลของความรู้ที่ได้รับในลักษณะรูปธรรม


กระบวนการของ WebQuest

1.  การระดมสมอง
2.   การสร้างความเห็นชอบที่เป็นเอกฉันท์
3.   การประเมินเนื้อหาบนเว็บ
4.   การใช้เอกสารจากแหล่งข้อมูลหลัก
5.   การใช้ภาพประกอบ

ประโยชน์ของWebQues 

       สนับสนุนให้ผู้เรียนได้เข้าถึงเนื้อหา ข้อมูลความรู้อย่างกว้างขวาง ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือก ซึมซับ เนื้อหาข้อมูลนั้นๆ ให้เหมาะกับตน ทั้งยังฝึกให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดในขั้นสูง ในระดับการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตลอดจนประเมินค่า อีกทั้งปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียนจะเป็นไปในเชิงบวก เนื่องจากเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงออกอย่างเต็มที่ทั้งด้านความคิดและความสามารถ ผนวกกับการออกแบบรูปแบบบทเรียนออนไลน์ที่ดีจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทบาทของตนเองได้ชัดเจน นำไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์ที่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้จะช่วยผลักดันให้กระบวนการเรียนการสอน เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขโดยแท้จริง


ที่มา http://www.pochanukul.com/?p=46
        http://edweb.sdsu.edu/webquest/webquestwebquest~ms.html 
        http://www.ipst.ac.th/it/rosegarden/somsri.htm
        http://learners.in.th/blog/kanokthip/238115

สืบค้น ณ วันที่ 16/02/56

e-Book



e-Book


รูปภาพ  e-Book

ความหมายของ e-Book

        “อีบุ๊ค” (e-book, e-Book, eBook, EBook,) เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์
        คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป


โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book

โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง E-Book มีอยู่หลายโปรแกรมแต่ที่นิยมใช้กันมาในปัจจุบันได้แก่
1. โปรแกรมชุด Flip Album
2. โปรแกรม DeskTop Author
3. โปรแกรม Flash Album Deluxe
     ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน e-Book ด้วย มิฉะนั้น แล้วจะเปิดเอกสารไม่ได้ ประกอบด้วย
1.1 โปรแกรมชุด Flip Album ตัวอ่านคือ FlipViewer
1.2 โปรแกรมชุด DeskTop Author ตัวอ่านคือ DNL Reader
1.3 โปรแกรมชุด Flash Album Deluxe ตัวอ่านคือ Flash Player   

                  

รูปภาพ  ตัวอย่าโปรแกรม e-Book


ความแตกต่างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) กับหนังสือทั่วไป

  ความแตกต่างของหนังสือทั้งสองประเภทจะอยู่ที่รูปแบบของการสร้าง การผลิตและการใช้งาน เช่น

1. หนังสือทั่วไปใช้กระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้กระดาษ
2. หนังสือทั่วไปมีข้อความและภาพประกอบธรรมดา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถสร้างให้มี
    ภาพเคลื่อนไหวได้
3. หนังสือทั่วไปไม่มีเสียงประกอบ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถใส่เสียงประกอบได้
4. หนังสื่อทั่วไปแก้ไขปรับปรุงได้ยาก หนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถแก้ไขและปรับปรุงข้อมูล
    (update)ได้ง่าย
5. หนังสือทั่วไปสมบูรณ์ในตัวเอง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง (links) ออก
   ไปเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอกได้
6. หนังสือทั่วไปต้นทุนการผลิตสูง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้นทุนในการผลิตหนังสือต่ำ
    ประหยัด
7. หนังสือทั่วไปมีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์
    สามารถทำสำเนาได้ง่ายไม่จำกัด
8. หนังสือทั่วไปเปิดอ่านจากเล่ม  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้องอ่านด้วยโปรแกรม ผ่านทาง
   หน้าจอคอมพิวเตอร์
9. หนังสือทั่วไปอ่านได้อย่างเดียว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นอกจากอ่านได้แล้วยังสามารถ
   สั่งพิมพ์ (print)ได้
10. หนังสือทั่วไปอ่านได้1 คนต่อหนึ่งเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เล่ม สามารถอ่านพร้อมกัน
    ได้จำนวนมาก (ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต)
11. หนังสือทั่วไปพกพาลำบาก (ต้องใช้พื้นที่) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์พกพาสะดวกได้ครั้งละ
    จำนวนมากในรูปแบบของไฟล์คอมพิวเตอร์ใน Handy Drive หรือ CD
12. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม   

    

โครงสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book Construction)

     ลักษณะโครงสร้างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีความคล้ายคลึงกับหนังสือทั่วไปที่พิมพ์ด้วยกระดาษ หากจะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนก็ คือ กระบวนการผลิต รูปแบบ และวิธีการอ่านหนังสือ  
สรุปโครงสร้างทั่วไปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย


1. หน้าปก (Front Cover) หมายถึง ปกด้านหน้าของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนแรก เป็นตัวบ่งบอกว่า หนังสือ
เล่มนี้ชื่ออะไร ใครเป็นผู้แต่ง
2. คำนำ (Introduction) หมายถึง คำบอกกล่าวของผู้เขียนเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล และเรื่องราวต่างๆ ของหนังสือเล่มนั้น
3. สารบัญ (Contents)  หมายถึง ตัวบ่งบอกหัวเรื่องสำคัญที่อยู่ภายในเล่มว่าประกอบด้วยอะไรบ้างอยู่ที่หน้าใดของหนังสือ สามารถเชื่อมโยงไปสู่หน้าต่างๆ ภายในเล่มได้
4. สาระของหนังสือแต่ละหน้า หมายถึง ส่วนประกอบสำคัญในแต่ละหน้า ที่ปรากฏภายในเล่มประกอบด้วย  
            • หน้าหนังสือ (Page Number)
            • ข้อความ (Texts)
            • ภาพประกอบ (Graphics) .jpg, .gif, .bmp, .png, .tiff
            • เสียง (Sounds) .mp3, .wav, .midi
            • ภาพเคลื่อนไหว (Video Clips, flash) .mpeg,   .wav,   .avi
            • จุดเชื่อมโยง (Links)
5. อ้างอิง หมายถึง แหล่งข้อมูลที่ใช้นำมาอ้างอิง อาจเป็นเอกสาร ตำรา หรือ เว็บไซต์ก็ได้
6. ดัชนี หมายถึง การระบุคำสำคัญหรือคำหลักต่างๆ ที่อยู่ภายในเล่ม โดยเรียงลำดับตัวอักษร
    ให้สะดวกต่อการค้นหา พร้อมระบุเลขหน้าและจุดเชื่อมโยง
7. ปกหลัง หมายถึง ปกด้านหลังของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนท้ายเล่ม

ประโยชน์ของ e-Book 

1. การอ่านหนังสือจะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น เพราะหากมี e-Book Reader เพียงเครื่องเดียวก็เหมือนกับมีหนังสือเป็นพัน ๆ เล่ม
2. การอ่านหนังสือจะเป็นเรื่องที่ไม่น่าเบื่อ เพราะ e-Book Reader มีความสามารถที่จะแสดงผลด้วยภาพ ข้อความ เสียง และมีภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย แต่จะแสดงเป็นสีหรือขาวดำนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของ e-Book Reader เช่น Kindle ของ Amazon แสดงเป็นขาว-ดำ ส่วน iPad แสดงเป็นสี
3. ผู้อ่านสามารถย้อนกลับไปอ่านหน้าที่ผ่านมาแล้วได้สะดวกและง่าย เพราะบางทีการอ่านหนังสือที่เป็นกระดาษที่เป็นเล่มหนา ๆ การจะกลับไปค้นหาคำบางคำเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก
4. จากความสามารถในการเชื่อมโยงกับข้อความต่าง ๆ ภายในตัวหนังสือ หรือภายนอกเว็บไซต์อื่น ๆ จากอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถได้รับความสารที่รวดเร็วและถูกต้องมากขึ้นตลอดเวลา
5. การกระจายสื่อทำได้อย่างรวดเร็ว และกว้างขวางกว่าสื่อที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์ เพราะการส่ง content จำนวนพัน ๆ หน้าสามารถทำได้เร็วกว่าที่จะต้องไปถ่ายเอกสารหนังสือทั้งเล่ม ซึ่งบางทีก็ไม่ชัด และเสียเวลา
6. บางครั้งความต้องการในอ่านหนังสือเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ความสามารถในอ่านพร้อม ๆ กันได้หลาย ๆ คน โดยไม่ต้องรอยืม หรือคืนเหมือนหนังสือที่เป็นกระดาษในห้องสมุด ทำให้เกิดความสะดวกมากขึ้น
7. สามารถอ่านได้หลาย ๆ ครั้ง เพราะไม่ยับและไม่เสียหายเหมือนกระดาษ เพราะหลายครั้ง การอ่านหนังสือที่เป็นกระดาษการเกิดการขาด ยับได้ง่าย
8. e-Book Reader มีเสียงประกอบหรืออ่านออกมาเป็นเสียงได้ เพื่อผู้พิการทางสายตาหรือผู้ที่ต้องการพักสายตา และสามารถเลือกได้ว่าจะเป็นเสียงผู้หญิงหรือเสียงผู้ชาย
9. เนื่องจาก e-Book Reader ไม่ต้องใช้กระดาษในการผลิต ดังนั้นจึงช่วยด้านสิ่งแวดล้อม เพราะไม่ต้องมีการตัดต้นไม้มาทำเป็นกระดาษก่อน และในอนาคตกระดาษจะหายไป
10. ไม่ต้องมีการพิมพ์หมึกลงไปบนกระดาษ ทำให้ไม่เปลืองหมึกพิมพ์
11. ลดขั้นตอนการจัดส่ง ก็จะทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลงได้ ทำให้สามารถจำหน่ายในราคาได้ในราคาที่ถูกกว่าหนังสือที่เป็นกระดาษ
12. นักเขียนสามารถขายผลงานของตนเองได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านโรงพิมพ์หรือสำนักพิมพ์ใดๆ ทำให้ราคาถูกลง และน่าจะเป็นโอกาสที่ทำให้เกิดนักเขียนใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ง่ายมากขึ้น
13. เกิดห้องสมุดเคลื่อนที่ (E-Library) และเพิ่มมูลค่าให้กับ E-Learning
14. ทำสำเนาได้ง่าย และ สามารถ update ได้รวดเร็ว ไม่มีความตายตัว
15. มีความทนทาน สะดวกต่อการเก็บรักษา ลดปัญหาการจัดเก็บ (CD 1 แผ่นสามารถเก็บ e-Book ได้ประมาณ 500 เล่ม)
16. มีความสะดวกสบาย ไม่ต้องเดินทางไปร้านหนังสือเพื่อซื้อหนังสือ เพราะว่าอยู่ที่ไหนก็สามารถทำได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องอยู่ในพื้นที่ที่มีสัญญาณ Wi-Fi
17. e-Book Store จะเกิดขึ้นและมีการแข่งขันสูง ทำให้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค
18. สำหรับผู้ผลิตหนังสือ ไม่ต้องเสียเงินและเสียเวลาทำ Art work และการจัดหน้า



ที่มา http://y29.wikidot.com/e-book-reader
        http://www.thaigoodview.com/node/57861

สืบค้น ณ วันที่  16/02/56

Blog



Blog 



รูปภาพ  ตัวอย่างบล็อก

         Blog มาจากศัพท์คำเต็มว่า WeBlog  คือ เว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา นอกจากนี้แล้ว Blog ยังเป็นพื้นที่ให้ Blogger โพสต์ข้อมูล หรือใส่ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทานให้คนอื่นๆ เช่น คุณหมอ เปิดบล็อกแนะนำเรื่องสุขภาพ เป็นต้น การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ ภายในเว็บบล็อก จะมีระบบบริหารจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้ว โดยการสร้างเครื่องมือสำหรับ เขียนเรื่อง โพสรูป จัดหมวดหมู่ และลูกเล่นอื่นๆ ที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ให้เข้าไปใช้บริการ เสน่ห์ของบล็อกอยู่ที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive) โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายที่เรื่องนั้นๆ  ข้อแตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์ทั่วไป คือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที

       ในปัจจุบันบล็อก ถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ฯลฯ และกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยขณะนี้ได้มีผู้ให้บริการบล็อกมากมาย ทั้งแบบให้บริการฟรี และเสียค่าใช้จ่าย ตัวอย่างผู้ให้บริการ Blog เช่น Bloggang, exteen หรือ BlogKa หรือต่างประเทศเช่น Blogger, Wordpress, MySpace

       บล็อกซอฟต์แวร์ หรือ บล็อกแวร์ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต ในลักษณะของระบบจัดการเนื้อหาเว็บ ที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และผู้เขียนหรือดูแลบล็อกจะแยกจากกันต่างหาก ส่งผลให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ในด้าน HTML หรือการทำเว็บไซต์แต่อย่างใด ทำให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้เวลาส่วนใหญ่ในการ บริหารจัดการ เพิ่มเติม ข้อมูลและสารสนเทศแทนได้ นอกจากนี้บล็อกซอฟต์แวร์จะสนับสนุน ระบบ WYSIWYG ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเขียน

ความนิยม


บล็อกได้เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบันในวงการสื่อมวลชนในหลายประเทศ เนื่องจากระบบแก้ไขที่เรียบง่าย และสามารถตีพิมพ์เรื่องราวได้โดยไม่ต้องใช้ความรู้ในการเขียนเว็บไซต์ โดยนอกเหนือจากที่ผู้เขียนข่าวส่งผลงานให้กับทางสื่อแล้ว ยังได้มาเขียนข่าวในอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูล หรือแนวความคิด โดยการเขียนบล็อกสามารถเผยแพร่ข้อมูลสู่ประชาชนได้รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า สื่อในด้านอื่น ข่าวที่นิยมในการเขียนบล็อกต่อสื่อมวลชน ส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะเรื่องซุบซิบวงการดารา ข่าวการเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นต้น
จากความนิยมที่มากขึ้น ทำให้หลายเว็บไซต์เปิดให้มีส่วนการใช้งานบล็อกเพิ่มขึ้นมาในเว็บของตนเอง เพื่อเรียกให้มีการเข้าสู่เว็บไซต์มากขึ้นทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน

การใช้งานบล็อก

ผู้ใช้งานบล็อกจะแก้ไขและบริหารบล็อกผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์เหมือนการใช้งานและอ่านเว็บไซต์ทั่วไป โดยจะมีรูปแบบบริหารบล็อกที่แตกต่างกัน เช่นบางระบบที่มีบรรณาธิการของบล็อก ผู้เขียนหลายคนจะส่งเรื่องเข้าทางบล็อก และจะต้องรอให้บรรณาธิการอนุมัติให้บล็อกเผยแพร่ก่อน บล็อกถึงจะแสดงผลในเว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งจะแตกต่างจากบล็อกส่วนตัวที่จะให้แสดงผลได้ทันที
ผู้เขียนบล็อกในปัจจุบันจะใช้งานบล็อกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งไม่ว่า ติดตั้งซอฟต์แวร์ของตัวเอง หรือใช้งานบล็อกผ่านทางเว็บไซต์ที่ให้บริการบล็อก
สำหรับผู้อ่านบล็อกจะใช้งานได้ในลักษณะเหมือนอ่านเว็บไซต์ทั่วไป และสามารถแสดงความเห็นได้ในส่วนท้ายของแต่ละบล็อกโดยอาจจะต้องผ่านการลงทะเบียนในบางบล็อก นอกจากนี้ผู้อ่านบล็อกสามารถอ่านบล็อกได้ผ่านระบบฟีด ซึ่งมีให้บริการในบล็อกทั่วไป ทำให้ผู้ใช้สามารถอ่านบล็อกได้โดยตรง ผ่านโปรแกรมตัวอื่นโดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาสู่หน้าบล็อกนั้น

สังคมบล็อก

สังคมบล็อก หมายถึง พื้นที่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ที่ต้องการนำเสนอบทความ สามารถแบ่งบัน เรื่องราว รูปภาพ รูปถ่าย อันส่งผลประโยชน์ แกผู้เข้ารับชม อันนี้คือสิ่งที่จำกัดความหมายของสังคมบล็อก ตั้งเป้าหมายไว้ โดยผู้ใช้ สามารถที่จะหา ผลประโยชน์จาก บทความที่ตนเอง เป็นผู้นำเสนอ โดยอาจจะมีการ นำเสนอโฆษณา พร้อมๆ กับการนำเสนอ บทความ แล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้ อย่างอิสระ
อนึ่ง การใช้งานระบบสังคมบล็อก มีเนื้อหาของการนำเสนอ โดยจะต้องเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของ ผู้นำเสนอ ระหว่างผู้ใช้งานด้วยกัน ไม่อาจจะทำการสำเนา เอกสารดังกล่าวได้ เพียงแต่สามารถทำการลิงก์เชื่อมโยง เพื่อส่งผลโดยตรงต่อผู้ใช้งานทั่วไป ให้สามารถใช้งานระบบได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด

บล็อกซอฟต์แวร์

บล็อกซอฟต์แวร์ หรือ บล็อกแวร์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต ในลักษณะของระบบจัดการเนื้อหาเว็บ ที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และผู้เขียนหรือดูแลบล็อกจะแยกจากกันต่างหาก ส่งผลให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ในด้านเอชทีเอ็มแอล หรือการทำเว็บไซต์แต่อย่างใด ทำให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้เวลาส่วนใหญ่ในการ บริหารจัดการ เพิ่มเติม ข้อมูลและสารสนเทศแทนได้ นอกจากนี้บล็อกซอฟต์แวร์จะสนับสนุน ระบบ WYSIWYG ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเขียน และอาจเพิ่มเติมการมีเทมเพลตในหลายแบบให้เลือกใช้
ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งได้ทันทีโดยผู้ใช้ ซึ่งซอฟต์แวร์บางส่วนเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ซึ่งผู้พัฒนาสามารถนำมาปรับแก้ เป็นของตนเอง ติดตั้งไว้ใช้เป็นบล็อกส่วนตัว หรือเผยแพร่ให้คนอื่นมาใช้งานได้ ส่วนซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์นั้น จะมีทั้งในรูปแบบที่ให้ใช้งานแบบเสียค่าใช้จ่ายหรือให้ใช้งานฟรี

บล็อกซอฟต์แวร์ที่เป็นที่รู้จัก

รายชื่อบล็อกซอฟต์แวร์ที่เป็นที่นิยมพร้อมทั้งชื่อซอฟต์แวร์ที่ใช้พัฒนาในวงเล็บ
ดรูปาล (พีเอชพี/มายเอสคิวแอล)
เวิร์ดเพรสส์ (พีเอชพี/มายเอสคิวแอล)
สแลช (เพิร์ล)
ไลฟ์ไทป์ (พีเอชพี/มายเอสคิวแอล)
จุมล่า (พีเอชพี/มายเอสคิวแอล)
แมมโบ้ (พีเอชพี/มายเอสคิวแอล)

ผู้ให้บริการบล็อกที่เป็นที่รู้จัก
รูปภาพ ตัวอย่างบล็อก
รายชื่อผู้ให้บริการบล็อกที่มีชื่อเสียง

บล็อกเกอร์ (กูเกิล)
ไทป์แพด
เวิร์ดเพรสส์
ยาฮู! 360° หรือ ยาฮู!เดย์ 
วินโดวส์ไลฟ์ สเปซเซส (ไมโครซอฟท์)
มายสเปซ
มัลติพลาย

ผู้ให้บริการบล็อกในประเทศไทยที่เป็นที่รู้จัก

Blognone บล็อกสำหรับเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีและข่าวไอทีอย่างเดียว
เอกซ์ทีน
GotoKnow
Bloggoo
learners.in.th
บล็อกแก๊ง
โอเคเนชั่น

         นอกจากนี้ทางเว็บที่นิยมของไทยอย่าง สนุก.คอม, กระปุก.คอม หรือผู้จัดการออนไลน์ ก็ได้มีการเปิดให้บริการบล็อก

ประโยชน์ของ Blog 


1. เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้ผู้คน สาธารณะได้รับรู้
2. เป็นเครื่องมือช่วยในด้ารธุรกิจ เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กร การเสนอตัวอย่างสินค้า การขายสินค้า และการทำการตลาดออนไลน์ เป็นต้น
3. เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกต้องและชัดเจน จากผู้มีความรู้เฉพาะด้านๆ นั้น เนื่องจากผู้เขียน Blog มักจะเขียนถึงเรื่องที่ตัวเองถนัด ชอบ และมีความรู้ลึกในเรื่องนั้นๆ การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านใน Blog ต่างๆ จึงทำให้เราค้นพบความรู้ และผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น
4. ทำให้ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน เพราะข่าวสารความรู้ มาจากผู้คนมากมาย(ทั่วโลก) และมักจะเปลี่ยนแปลงได้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ


ที่มา  http://th.wikipedia.org
         http://www.mindphp.com

สืบค้น ณ วันที่ 16/02/56


e-Learning




e-Learning 




รูปภาพ e-Learning

          คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น 



                  e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้


          ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)


รูปภาพ ตัวอย่างเว็ปไซต์ e-Learning 


ประโยชน์ของ e-Learning 

    1.ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และ สะดวกในการเรียนการเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning นั้นง่ายต่อการแก้ไขเนื้อหา และกระทำได้ตลอดเวลา เพราะสามารถกระทำได้ตามใจของผู้้สอน เนื่องจากระบบการผลิตจะใช้ คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่
    2. เข้าถึงได้ง่ายผู้เรียน และผู้สอนสามารถเข้าถึง e-learning ได้ง่าย โดยมากจะใช้ web browser ของค่ายใดก็ได้ (แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตบทเรียน อาจจะแนะนำให้ใช้ web browser แบบใดที่เหมาะกับสื่อการเรียนการสอนนั้นๆ) ผู้เรียนสามารถเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ และในปัจจุบันนี้ การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทำได้ง่ายขึ้นมาก และยังมีค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าแต่ก่อนอีกด้วย
   3. ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยกระทำได้ง่าย เนื่องจากผู้สอน หรือผู้สร้างสรรค์งาน e-Learning จะสามารถเข้าถึง server ได้จากที่ใดก็ได้ การแก้ไขข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล จึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว
   4.ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ โดยจำเป็นต้องไปโรงเรียน หรือที่ทำงาน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องประจำก็ได้ ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก การเรียน การสอน หรือการฝึกอบรมด้วยระบบ e-Learning นี้ จะสามารถประหยัดเวลาถึง 50% ของเวลาที่ใช้ครูสอน หรืออบรม


ประโยชน์ของการเรียนแบบออนไลน์เมื่อเทียบกับการฝึกอบรมในห้องเรียน


ห้องเรียน/สถานที่อบรม
เครือข่ายออนไลน์
การเข้าถึง

จำกัด (ขึ้นอยู่กับขนาดของห้องเรียน) / ระยะเวลาที่เปิดสอนต่อวัน

24 ฃั่วโมงต่อวัน และ 7 วันต่อสัปดาห์
การวัดผล

วัดผลด้วยตัวเอง หรือครูผู้สอน

อัตโนมัติ หรือครูผู้สอน
การจดจำ

จำกัด ไม่สามารถทวนซ้ำได้ อาจจะต้องในการจดบันทึกแทน

สูง เพราะสามารถทวนซ้ำได้หลายๆ ครั้ง เท่าที่ต้องการ
ค่าใช้จ่าย
สูง เพราะค่าจ้างผู้สอนต่อครั้ง

ต่ำ ค่าจ้างครูผู้สอนครั้งเดียวในการผลิตเนื้อหา



ที่มา  http://www.thaiedunet.com/ten_content/benefit.html

สืบค้น ณ วันที่ 16/02/56

e-Mail



e-Mail


รูปภาพ  จดหมายอิเล็กทรอนิกส์

           E-Mail ย่อมาจาก  EIectronic-Mail คือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ Internet )การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรม word จากนั้นก็คลิกคำสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า E-mail Address เป็นหลักในการรับส่ง แต่ถ้าในกรณีที่เป็นการส่งอีเมล หรือข้อความโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้รับ เราเรียกว่า Spam  และเรียก อีเมลนั้นว่าเป็น spam mail


          อีเมล์คือวิธีการติดต่อสื่อสารด้วยตัวหนังสือ แทนการส่งจดหมายแบบกระดาษ โดยใช้การส่งข้อมูลในรูปของสัญญาณข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จากเครื่องหนึ่งไปยังผู้รับอีกเครื่องหนึ่ง อีเมล์แอดเดรส ( E- mail Address) คือ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต หรือที่อยู่ของตู้จดหมายของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้สำหรับบอกตำแหน่งของผู้รับว่าอยู่ที่ไหน เช่น somchai@hotmail.com


         ส่วนประกอบของอีเมล์แอดเดรส ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ ดังตัวอย่างนี้


-ชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้เรียกว่า user name อาจใช้ชื่อจริง ชื่อเล่น หรือชื่อองค์กร ก็ได้
-ส่วนนี้ คือ เครื่องหมาย @ ( at sign) อ่านว่า แอท
-ส่วนที่สาม คือ โดเมนเนม (Domain Name) เป็นที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ที่เราสมัครเป็นสมาชิกอยู่ เพื่ออ้างถึงเมล์เซิร์ฟเวอร์
-ส่วนสุดท้ายเป็นรหัสบอกประเภทขององค์กรและประเทศ ในที่นี้คือ .co.th โดยที่ .co หมายถึง commercial เป็นบริการเกี่ยวกับการค้า ส่วน .th หมายถึง Thailand อยู่ในประเทศไทย


      รหัสบอกประเภทขององค์กร คือ


.com = commercial บริการด้านการค้า

.edu = education สถานศึกษา


.org = orgnization องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร           

.gov = government หน่วยงานรัฐบาล

.net = network หน่วยงานบริการเครือข่าย

ตัวอย่าง e-mail address

stg@mail.ians.navy.mi.th somchai@access.inet.co.th somchai@ku.ac.th



    ประโยชน์ของ E-Mail


1.รวดเร็ว เชื่อถือได้  
2.ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่ง และลดการใช้กระดาษ
3.ลดเวลาในการส่งเอกสารลง เพราะผู้ส่งไม่ต้องเสียเวลาไปส่งเอง หรือรอไปรษณีย์ไปส่งให้ 
4.ผู้ส่งสามารถส่งเอกสารได้ตลอดไม่จำกัดเวลา หรือระยะทางในการส่ง ในขณะที่ผู้อ่านก็สามารถเปิดอ่านเอกสารได้ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน 
5.สามารถส่งต่อกันได้สะดวก และผู้ส่งสามารถส่งให้ผู้รับได้พร้อมๆกันหลายคนในเวลาเดียวกัน





ที่มา http://guru.sanook.com
        http://mtbkzone.exteen.com
        http://www.ismed.or.th

สืบค้น ณ วันที่ 16/02/56

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การพัฒนาครู





                 ครูใหม่ : เริ่มต้นสู่ความสำเร็จ 







                ติดตามครูใหม่ระดับประถมศึกษา 2 ท่านได้แก่ ซานดรา อับดุลไล-ซานิ และเดวิด ฟรีบอร์น ไปเพิ่มพูนทักษะการสอนในทุกแง่มุม ตั้งแต่การจัดการด้านพฤติกรรม ไปจนถึงพลศึกษา รวมทั้งเป้าหมายการประเมินผลเฉพาะ รายการนี้เจาะลึกปัญหาที่ครูใหม่ส่วนมากมักประสบ ซาราห์ บับห์ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิด และทำอย่างไรให้ปีแห่งการฝึกสอนผ่านไปอย่างเรียบร้อย เดวิด มีประกาศนียบัตรด้านการสอน (PGCE) และมีประสบการณ์การฝึกสอนเป็นเวลา 1 ปี และซานดรา จบปริญญาตรีเกียรตินิยมด้านการศึกษา (BEd) และมีประสบการณ์การสอน 3 ปี ทั้งคู่ได้รับเลือกให้ทำงานที่โรงเรียนประถมศึกษาทางตอนใต้ของกรุงลอนดอน ด้วยความสำคัญของการประเมินผลภาคการศึกษาที่ 2 ซานดรา และเดวิด เน้นเป้าหมายของตนเอง สำหรับซานดรา นี่หมายถึงการมีช่วงสรุปบทเรียน และสำหรับเดวิด หมายถึงการประเมินตนเองของนักเรียนหลังจบบทเรียนทุกบท ความพยายามต่อเนื่องของซานดรา และเดวิด จะเพียงพอให้พวกเขาผ่านการสอนปีแรกหรือไม่


              เป็นตอนที่ดีมากตอนหนึ่ง ทำให้ทราบถึงวิธีการ กลยุทธ์และเทคนิคต่าง ๆ ในการเตรียมความพร้อมของครูต่อการพัฒนาการเรียนการสอนของตนเอง เช่น การตั้งจุดประสงค์หรือเป้าหมาย การคิดหาวิธีที่จะทำให้ทำงานได้ดีขึ้น การรู้จักวิธีการสังเกตพฤติกรรมและความต้องการของเด็กแต่ละคน เพื่อดูขีดความสามารถของเด็กและการจัดการในห้องเรียน , การเข้าไปสังเกตการณ์การเรียนการสอนของครูท่านอื่น ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนของตนเอง , การหากลยุทธ์ในการเรียนการสอน เพื่อดึงดูดความสนใจเด็ก เป็นต้น



สืบค้น ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556