วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

เม็ดเลือดขาว




 

เม็ดเลือดขาว






รูปภาพ เซลล์เม็ดเลือดขาว


            เม็ดเลือดขาว (อังกฤษ: White blood cells - leukocytes) เป็นเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งคอยป้องกันร่างกายจากทั้งเชื้อก่อโรคและสารแปลกปลอมต่างๆ เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด ทั้งหมดเจริญมาจาก pluripotent cell ในไขกระดูกที่ชื่อว่า hematopoietic stem cell เซลล์เม็ดเลือดขาวเป็นเซลล์ที่พบได้ทั่วไปในร่างกาย รวมไปถึงในเลือดและในระบบน้ำเหลือง

            จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดมักใช้เป็นข้อบ่งชี้ของโรคและการดำเนินไปของโรค โดยปกติแล้วในเลือดหนึ่งลิตรจะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวอยู่ประมาณ 4×109 ถึง 11×109 เซลล์ รวมเป็นเซลล์ประมาณ 1% ในเลือดของคนปกติ ในบางสภาวะ เช่น ลูคีเมีย (มะเร็งเม็ดเลือดขาว) จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวจะมีปริมาณได้มากกว่าปกติ หรือในภาวะ leukopenia จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวก็จะน้อยกว่าปกติ คุณสมบัติทางกายภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาว เช่น ปริมาตร conductivity และ granularity อาจเปลี่ยนแปลงไประหว่างการกระตุ้นเซลล์ การเจริญของเซลล์ หรือการมีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว


           การเกิดเม็ดเลือดขาวเม็ดเลือดขาวมีต้นกำเนิดจาก PSC เช่นเดียวกับเม็ดเลือดแดงและจะแบ่งสายเซลล์ออกเป็น 2 สาย ในการกำเนิดเม็ดเลือดขาว คือ
1. Myeloid stem cell จะเป็นเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือดแดง,เกร็ดเลือด และเม็ดเลือดขาวชนิดมีแกรนูล (granulocytic)
2. Lymphoid stem cell จะเจริญแบ่งตัวเป็น lymphocyte และ plasma cel

       สำหรับการแบ่งตัวของ Myeloid stem cell ในส่วนของเม็ดเลือดขาว จะเจริญแบ่งเซลล์ออกเป็นสายได้ 2 สาย คือ
1. สายเม็ดเลือดขาวชนิดมีแกรนูล (Granulocytic series)
2. สายเม็ดเลือดขาวชนิดมีนิวเคลียสเดี่ยว (Monocytic series)

1. สายเม็ดเลือดขาวชนิดมีแกรนูล การสร้างเม็ดเลือดขาวในสายนี้ จะเริ่มตั้งแต่

    1.1 มัยอีโลบลาสท์ (Myeloblast) เป็นเซลล์ที่มีขนาดแตกต่างกันได้มาก มีตั้งแต่ขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดงเล็กน้อยจนถึงขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง ๒-๓ เท่า มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๑๐-๒๐ μm
- นิวเคลียสมีขนาดใหญ่เกือบเต็มเซลล์ รูปกลม หรือ รูปไข่ มีโฆรมาตินละเอียดมาก สานกันเป็นร่างแห เห็นพาราโฆรมาตินชัดเจน มีนิวคลิโอไล ๒-๕ อัน
- ไซโตพลาสซึม มีปริมาณน้อย ติดสีน้ำเงิน ไม่มีแกรนูล

    1.2 โปรมัยอีโลซัยท์ (Promyelocyte) มีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อย มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๔-๒๐ μm
- นิวเคลียส ยังคงมีขนาดใหญ่โฆรมาตินหยาบขึ้นยังคงเห็นนิวคลิโอไล แต่มีจำนวนน้อยลง
- ไซโตพลาสซึม มีปริมาณมากขึ้น ติดสีฟ้าจางๆ และเริ่มมีแกรนูลเม็ดเล็กๆติดสีม่วงแดง (azurophillic granules)

    1.3 มัยอีโลซัยท์ (Myelocyte) มีขนาดเล็กลง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๕-๑๘ μm เซลล์ระยะนี้เริ่มมีแกรนูลเฉพาะ ทำให้สามารถแยกชนิดได้เป็น นิวโตรฟิลลิก (neutrophilic), อีโอสิโนฟิลลิก (eosinophilic) และ เบโสฟิลลิก (bosophilic)
- นิวเคลียส มีรูปกลม หรือ รูปไข่ โฆรมาตินหยาบและติดสีเข้มข้น ไม่พบนิวคลิโอไล
- ไซโตพลาสซึม ติดสีฟ้าอมชมพู และมีแกรนูลเฉพาะเช่น นิวโตรฟิลลิก มัยอีโลซัยท์ จะพบแกรนูลขนาดเล็กละเอียด ติดสีชมพูอมม่วงอีโอสิโนฟิลลิก มัยอีโลซัยท์ จะพบแกรนูลขนาดใหญ่เท่าๆ กัน ติดสีส้มแดง เบโสฟิลลิก มัยอีโลซัยท์ จะพบแกรนูลขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้างไม่เท่ากัน ติดสีม่วงอมดำ

    1.4 เมตามัยอีโลซัยท์ (Metamyelocyte) เป็นเซลล์ที่มีขนาดเล็กลงอีกเล็กน้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง
15-18μm
- นิวเคลียส เริ่มคอดเว้าลงมาซึ่งจะไม่เกินครึ่งหนึ่งของบริเวณนิวเคลียสทั้งหมด ลักษณะ นิวเคลียสคล้ายรูปไต หรือ รูปถั่ว มีโฆรมาตินหยาบ ติดสีเข้ม

   1.5 รูปเกือกม้า (Band form) เป็นเซลล์ที่มีขนาดเล็กลงอีก เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐-๑๕ μm
- นิวเคลียส จะเป็นท่อนยาว พบมากเป็นรูปเกือกม้า หรือรูป U ซึ่งทำให้แยกได้ยาก จากรูปเป็นก้อน (segmented form) ดังนั้นจึงมีหลักเกณฑ์ว่า ถ้าบริเวณที่คอดเว้าส่วนที่แคบที่สุดของนิวเคลียส สามารถมองเห็นโฆรมาตินและพาราโฆรมาตินได้ จัดว่าเป็นรูปเกือกม้า แต่ถ้าเส้นที่เชื่อมต่อระหว่างก้อนนิวเคลียสเป็นเส้นบางๆ (มีความหนาน้อยกว่า ๐.๑ μm) จัดเป็นรูปเป็นก้อน อัตราส่วนของ รูปเป็นก้อน : รูปเกือกม้า ในภาวะปกติเท่ากับ ๑๐ : ๑

   1.6 รูปเป็นก้อน (Segmented form) ระยะนี้ นิวเคลียสจะแยกออกจากกันเป็นก้อนๆ (lobe) แต่ละก้อนจะต่อกันด้วยเส้นโฆรมาตินบางๆ แบ่งออกเป็นนิวโตรฟิล (Neutrophil) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐-๑๕ μm ประมาณ ๒ เท่าของเม็ดเลือดแดง
- นิวเคลียส มี ๒-๕ ก้อนโฆรมาตินหยาบมาก ติดสีม่วงเข้ม
- ไซโตพลาสซึม มีปริมาณมากแกรนูลละเอียด ติดสีชมพูอมม่วง กระจายอยู่เต็มเซลล์อีโอสิโนฟิล (Eosinophil) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๒-๑๗ μm มีขนาดใหญ่กว่านิวโตรฟิล
- นิวเคลียส มองเห็นได้ชัดเจน และมักจะพบมี ๒ ก้อน
- ไซโตพลาสซึม เต็มไปด้วยแกรนูลหยาบขนาดใหญ่ เท่าๆกัน ติดสีส้มแดง เบโสฟิล (Basophil) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐-๑๔ μm ซึ่งจะมีขนาดใกล้เคียงกับนิวโตรฟิล
- นิวเคลียส มี ๒-๓ ก้อน แต่มองไม่ชัดเจนเนื่องจากถูกบังด้วยแกรนูลที่มีขนาดใหญ่บ้าง เล็กบ้าง ติดสีม่วงดำ

2. สายเม็ดเลือดขาวชนิดมีนิวเคลียสเดี่ยว มีเซลล์ต้นกำเนิดในระยะแรกร่วมกับสายเม็ดเลือดขาวชนิดมีแกรนูล แต่ลักษณะและกำเนิดจะไม่ชัดเจน ซึ่งสามารถแบ่งการเจริญเติบโตได้ดังนี้

   2.1 โมโนบลาสท์ (Monoblast) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๕-๒๐ μm เป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่
 - นิวเคลียส มีขนาดใหญ่ รูปกลม หรือ รูปไข่ บางครั้งอาจมีรอยคอดหยักโฆรมาติน ละเอียด มองเห็นพาราโฆรมาตินมากมายมีนิวคลิโอไล ๑-๒ อันไซโตพลาสซึม มีปริมาณมาก ติดสีฟ้าอ่อน หรือสีเทา

   2.2 โปรโมโนบลาสท์ (Promonoblast) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๕-๒๕ μm
- นิวเคลียส มีขนาดใหญ่ รูปกลม หรือ รูปไข่ อาจจะมีรอยคอดหยักหรือซ้อนทับกันไปมาโฆรมาตินอยู่กันอย่างหลวมๆ ยังคงมองเห็นนิวคลิโอไล
- ไซโตพลาสซึม สีฟ้าอมเทา มีแกรนูลเม็ดเล็ก ๆ ติดสีม่วงแดง

   2.3โมโนซัยท์ (Monocyte) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๔-๒๐ μm ถึงขนาด ๓๐-๔๐ μm เป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ มีขนาดแตกต่างกันมาก
- นิวเคลียส เป็นลอน คล้ายคลื่นสมอง หรืออุ้งเท้าสัตว์ อาจมีรูปร่างคล้ายเกือกม้าหรือรูปไตโฆรมาตินอยู่กันแบบหลวมๆ เห็นพาราโฆรมาตินชัดเจน ไม่มีนิวคลิโอไล
- ไซโตพลาสซึม มีปริมาณมาก ติดสีฟ้าปนเทา อาจจะพบหรือไม่พบแกรนูลเม็ดเล็ก ๆ ติดสีม่วงแดงก็ได้
กลุ่ม Lymphoid stem cell ซึ่งเจริญแบ่งตัวเป็นสายลิมโฟซัยท์ และพลาสมาเซลล์สายลิมโฟซัยท์ (lymphocyte) ตัวอ่อนจะพบได้น้อยมากในไขกระดูกของคนปกติ ซึ่งจะพัฒนาแบ่งตัวเป็นระยะต่างๆ ดังนี้
ลิมโฟบลาสท์ (Lymphoblast) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๕-๒๐ μm
- นิวเคลียส มีขนาดโตเกือบเต็มเซลล์ มีโฆรมาตินหยาบ มีนิวคลิโอไล ๑-๒ อัน
- ไซโตพลาสซึม มีพื้นที่น้อย ติดสีน้ำเงิน อาจติดสีน้ำเงินเข้ม บริเวณริมเซลล์ และอาจจะเห็นช่องว่างขาวติดกับนิวเคลียส (perinuclear halo)โปรลิมโฟซัยท์ (Prolymphocyte) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๕-๑๘ μm
- นิวเคลียส มีรูปกลม หรือหยักเล็กน้อยโฆรมาตินหยาบ มองเห็นนิวคลิโอไล ๑ อัน
- ไซโตพลาสซึม ติดสีเข้มสม่ำเสมอ อาจจะพบแกรนูลเม็ดเล็ก ๆ ติดสีม่วงแดง ได้ระยะนี้ แยกจากลิมโฟบลาสท์ได้ยากลิมโฟซัยท์ มีขนาดแตกต่างกัน โดยขนาดเล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๖-๙ μm
- นิวเคลียส อาจจะมีรูปร่างกลม รูปไข่ หยักเล็กน้อยคล้ายรูปถั่วหรือรูปไตโฆรมาติน หยาบ เป็นพื้น ติดสีม่วงเข้ม ส่วนใหญ่จะมองไม่เห็นนิวคลิโอไล
- ไซโตพลาสซึม อาจจะมีปริมาณน้อย ติดสีน้ำเงินหรือฟ้าอ่อน ใสลิมโฟซัยท์ขนาดใหญ่จะมี เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๗-๓๐ μm
- นิวเคลียส อาจจะมีรูปร่างกลม รูปไข่ หยักเล็กน้อยคล้ายรูปถั่วหรือรูปไตโฆรมาตินหยาบ เป็นพื้น ติดสีม่วงเข้ม ส่วนใหญ่จะมองไม่เห็นนิวคลิโอไล
- ไซโตพลาสซึม อาจจะมีปริมาณมากติดสีฟ้าอ่อน และใส อาจจะพบแกรนูลเม็ดเล็ก ๆ ติดสีม่วงแดงได้
สายพลาสมาเซลล์ เป็นเซลล์ซึ่งปกติจะอยู่ในเนื้อเยื่อ ไม่พบในกระแสเลือด แหล่งกำเนิด และเซลล์ต้นกำเนิด ยังไม่ทราบแน่ชัด มีการพัฒนา ดังนี้พลาสมาบลาสท์ (Plasmablast) เป็นเซลล์ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘-๒๐ μm
- นิวเคลียส มีรูปร่างกลมหรือรูปไข่ และอยู่ค่อนไปข้างใดข้างหนึ่งของเซลล์ (eccentric nucleus) โฆรมาตินหยาบเล็กน้อย และสานกันเป็นร่างแห เห็น parachromatin มากและชัดเจน มีนิวคลิโอไล ๒-๔ อัน
- ไซโตพลาสซึม ติดสีน้ำเงินเข้มโปรพลาสมาซัยท์ (Proplasmacyte) มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๕-๒๕ μm
- นิวเคลียส รูปกลมหรือรูปไข่ และอยู่ค่อนไปข้างใดข้างหนึ่งของเซลล์ (eccentric nucleus) โฆรมาตินหยาบมากขึ้น อาจจะมองเห็นนิวคลิโอไล ได้
- ไซโตพลาสซึม ติดสีฟ้า และมีช่องว่างขาวติดกับนิวเคลียส ( clear perinuclear zone)พลาสมาซัยท์ หรือพลาสมาเซลล์ เป็นเซลล์ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๔-๒๐ μm หรือประมาณ ๒-๓ เท่าของเม็ดเลือดแดง
- นิวเคลียส มีขนาดเล็กลง มีรูปกลม หรือรูปไข่ อยู่ค่อนไปข้างใดข้างหนึ่งของเซลล์(eccentric nucleus)โฆรมาตินหยาบเป็นปื้น โดยเฉพาะใน section จะพบลักษณะนิวเคลียสคล้ายซี่ล้อเกวียน (cartwhell nucleus) เซลล์ปกติจะไม่มีนิวคลิโอไล
- ไซโตพลาสซึมมีปริมาณค่อนข้างมาก ติดสีฟ้า และเห็นช่องว่างขาวติดกับนิวเคลียสได้ชัดเจน (perinuclear Halo)

หน้าที่ของเม็ดเลือดขาว

     โดยทั่วไปเม็ดเลือดขาวทุกชนิดจะมีหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยจะทำหน้าที่จับกินจุลชีพ แต่ละชนิดที่เข้ามารุกรานร่างกาย ดังนี้

1. สายเม็ดเลือดขาวชนิดมีแกรนูล

    1.1 นิวโตรฟิลจะมีความจำเพาะในการจับกินจุลชีพกลุ่มแบคทีเรีย ดังนั้น จะพบมีปริมาณมากเมื่อมีสภาวะสภาวะการติดเชื้อจากแบคทีเรีย และมักจะพบแกรนูลเม็ดเล็กๆสีม่วงดำ (toxic granules) กระจายอยู่ทั่วไซโตพลาสซึม

   1.2 อีโอสิโนฟิลจะมีความจำเพาะในการจับกินจุลชีพกลุ่มพยาธิ ดังนั้น จะพบมีปริมาณมากเมื่อมีสภาวะการติดเชื้อพยาธิ หรือภาวะภูมิแพ้

   1.3 เบโสฟิลจะมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อการแพ้ต่าง ๆ โดยการหลั่งสารพวกฮีสตามีนเป็นต้น โดยเราสามารถพบภาวะที่เบโสฟิลสูงขึ้นจากหลายสาเหตุ อาทิเช่นภาวะภูมิไวเกิน (hypersensitivity reactions) หรือพวก myeoloproliferative disorder เป็นต้น

2. สายเม็ดเลือดขาวชนิดมีนิวเคลียสเดี่ยว
โมโนซัยท์ จะมีหน้าที่ในการจับกินสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ทั้งภายในหลอดเลือด และนอกหลอดเลือด

3. สายเม็ดเลือดขาวลิมโฟซัยท์

   3.1 ลิมโฟซัยท์จะมีความจำเพาะในจับกินจุลชีพในกลุ่มไวรัส และการสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ดังนั้น จะพบมีปริมาณมากเมื่อมีสภาวะการติดเชื้อจากไวรัส

   3.2 พลาสมาเซลล์ จะมีหน้าที่สร้างสารภูมิคุ้มกัน





ที่มา http://news.giggog.com/325780
        http://sgpt.thai-aip.net/subjects/hematology/wbc.html

สืบค้น ณ วันที่  01/02/2556

เลือด





เลือด




รูปภาพ เลือดบริเวณนิ้วมือ


             เลือด (blood) เป็นของเหลวชนิดหนึ่งในร่างกาย ประกอบด้วย น้ำเลือด เกล็ดเลือด เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว ร่างกายเรามีเลือดอยู่ประมาณ 5 ลิตรหรือคิดเทียบกับน้ำหนักตัวเท่ากับร้อยละ 7-8 ของน้ำหนักตัว

 ส่วนประกอบของเลือด

          มื่อนำเลือดไปปั่นเหวี่ยงเพื่อทำการแยกชั้น จะพบส่วนประกอบของเลือดต่างๆดังนี้
  • น้ำเลือด (พลาสมา)
น้ำเลือด หรือ พลาสมา เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่มีอยู่ร้อยละ 55 ของเลือดทั้งหมดมีสภาวะเป็นเบส ค่าph 7.4 ประกอบด้วย น้ำ 91% สารอื่นๆ เช่น โปรตีน 7% วิตามิน เกลือแร่ เอ็นไซม์ ฮอร์โมน ก๊าซ 2% (ทำหน้าที่ลำเลียงเอมไซม์ ฮอร์โมน แก๊ส แร่ธาตุ วิตามิน และสารอาหารประเภทต่างๆ ที่ผ่านการย่อยมาแล้วไปให้เซลล์และรับของเสียจากเซลล์ส่งไปกำจัดออกนอกร่างกาย)
  • เม็ดเลือด
          เม็ดเลือดแดง (มีอายุ110-120วัน) ถูกสร้างมาจากไขกระดูก ตับ ม้าม
เม็ดเลือดขาว (มีอายุ 7-14วัน) โตกว่าเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรค เม็ดเลือดขาวโดนทำลายโดย เชื้อโรค 80% ไขกระดูก และ ม้าม ร่างกายคนมีเม็ดเลือดขาว 5000-10000เซลล์/เลือด 1ml แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1.ฟาโกไซต์ (phagocyte) มีวิธีการทำลายเชื้อโรคเรียกว่า "ฟาโกไซโตซีส" (Phagocytosis)
2.ลิมโฟไซต์ (lymphocyte) สร้าง "แอนติบอดี้" (Antibody) เพื่อต่อต้านเชื้อโรค
  • เกล็ดเลือด
เกล็ดเลือด ไม่ใช่เชลล์ แต่เป้นชิ้นส่วนของเซลล์ รูปร่างไม่แน่นอน มีขนาดเล็ก ไม่มีนิวเคลียส มีอายุประมาณ3-4 วัน ถูกสร้างมาจากไขกระดูก มีปริมาณประมาณ 150,000-300,000 ชิ้น/เลือด 1 ลูกบาสก์เซนติเมตร นอกจากนี้เกล็ดเลือดจะหลั่งสารเคมี (ไฟบริน) ช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อเกิดบาดแผล


  ชนิดของเลือดและส่วนประกอบของเลือด

         1.    Whole Blood เลือดครบอายุไม่เกิน 21 วัน
         2.    Fresh Whole Blood คือเลือดครบที่มีอายุไม่เกิน 24 ชั่วโมง
         3.    Pack Red Cell (PRC) เฉพาะส่วนของเม็ดเลือดแดงโดยแยกเอาส่วน Plasma ออกประมาณ80%
         4.   White Blood Cell (Leukocytes) สำหรับผู้ป่วยที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำ
         5.    Platelets  เป็นส่วนประกอบของเลือดเฉพาะส่วนของ Platelet concentrate
         6.   Fresh Frozen Plasma (FFP) เป็นส่วนประกอบของเลือดที่มีเฉพาะส่วนของ Plasma ที่ปั่นแยก มาจาก Fresh Whole
        7.   Cryoprecipitate เป็นส่วนประกอบของเลือด ที่มี Factor VIII 80-120 หน่วย Fibrinogen 250- 300 mg นอกจากนั้น ยังมี Factor XIII      

                 เลือดเป็นของเหลวที่สำคัญของชีวิต    ประกอบด้วยน้ำเลือด เกล็ดเลือด เซลล์เม็ดเลือดแดง  เซลล์เม็ดเลือดขาว  ในผู้ใหญ่จะมีเลือดอยู่ประมาณ  5.5 ลิตร ไหลเวียนอยู่ในระบบหมุนเวียนเลือด   ซึ่งเป็นระบบที่ประกอบด้วยเส้นเลือดจำนวนมาก  เลือดช่วยกระจ่ายความร้อนและนำสารที่สำคญซึ่งอยู่ในนํ้าเลือดไปทั่วร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดเมื่อแก่จะตายและจะถูกแทนที่ด้วยเซลล์เม็ดเลือดที่สร้างขึ้นมาใหม่ กระบวนการนี้เรียกว่า  ฮีโมพอยซิส

 Blood  constituents    

                   1.Plasma: นํ้าเลือด  เป็นของเหลวสีซีดๆ ( มีนํ้าอยู่ประมาณ90%) ซึ่งมีเซลล์เม็ดเลือดลอยอยู่ในนํ้าเลือด  จะมีสารอาหารละลายอยู่เพื่อส่งไปให้เซลล์ต่างๆของร่างกาย  นอกจากนี้ยังมีแอนติบอดี   ซึ่งเป็นสารที่ต้านทานเชื้อโรค  มีเอนไซม์  และฮอร์โมน  ซึ่งเป็นสารที่ช่วยควบคลุมกระบวนการต่างๆของร่างกายให้เป็นปกติ
                             
                 2.Red  blood  cells: เซลล์เม็ดเลือดแดง  มีรูปร่างเป็นแผ่นแบนเหมือนจาน   ไม่มีนิวเคลียส     สร้างจากไขกระดูก  มีสารฮีโมโกลบิน  เซลล์เม็ดเลือดแดงจะรวมกับออกวิเจนในปอดเป็นออกซีฮีโมโกลบิน  ทำให้เลือดมีสีแดงสด  เซลล์เม็ดเลือดแดงจะนำออกซิเจนไปให้  เซลล์ทั่วร่างกายจะกลับเข้าสู่ปอดด้อยเลือดที่มีฮีโมโกลบิน
                         
                  3. Platelets: เกล็ดเลือด  มีขนาดเล็กมากมีรูปร่างเป็นแผ่นเบน ไม่มีนิวเคลียส  สร้างจากไขกระดูก  บริเวณที่มีบาดแผลจะมีเกล็ดเลือดจำนวนมาก เพื่อทำหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการแข็งตัวของเม็ดเลือด
    
                 4. White  blood cells:  เซลล์เม็ดเลือดขาว  เป็นเซลล์เม็ดเลือดที่มีขนาดใหญ่  ทำหน้าที่สำคัญในการป้องกันเชื้อโรคให้กับร่างกายมีหลายชนิดเช่น ลิมโฟไซต์ สร้างจากเนื้อเยื่อน้ำเหลือง  พบในระบบน้ำเหลือง  เซลล์เม็ดเลือดขาวนี้ทำหน้าที่สร้างแอนติบอดี     เซลล์เม็ดเลือดขาวอีกชนิดได้แก่  โมโนไซต์สร้างจากไขกระดูก   เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดนี้จะจับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรียกว่า  แมกโครฟาค

     Body  defence  การป้องกันเชื้อโรคของร่างกาย

               1.Antigens:  แอนติเจน   ส่วนใหญ่เป็นสารโปรตีนที่เป้นตัวกระตุ้นหรือ  เป็นสาเหตุให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีมาต่อต้านแอนติเจนโดยอาจเป็นแบคทีเรียหรือไวรัส  หรืออาจเป็นสารพิษที่ได้จากแบคทีเรียหรือไวรัสก็ได้  แอนติเจนปกติที่พบใน  ร่างกายตั่งแต่เกิด  คือ  แอนติเจนที่เป้นตัวบ่งชี้หมู่เลือดต่างๆ
                     
               2.Antibodies: แอนติบอดี   เป็นสารโปรตีนอยู่ในส่วนที่เป็นของเหลวของร่างกาย สร้างจากเม็ดเลืือดขาวชนิด ลิมโฟไซต์  เมื่อมีแอนติเจนเข้าสู้ร่างกายแอนติบอดี้ชนิดต่างๆ จะมาจับแอนติเจนอย่างเฉพาะเจาะจงเป็นชนิดๆไปซึ่งจะมีปฏิกิริยาแตกต่างกันจะปล่อยสารที่เป็นพิษต่อต้านแอนติเจน โดยแอนติบอดีจะจับกับโมเลกุลของสารพิษ  ที่แอนติเจนปล่อยออกมากลายเป็นสารประกอบเชิงซ้อน ของ แอนติเจนกับแอนติบอดีที่เรียกว่าสารประกอบแอนติเจนแอนติบอดี  แอนติบอดีชนิดแอกกลูตินินจะจับแบคทีเรีย  หรือเชื้อไวรัสซึ่งเป็นแอนติเจนแอนติบอดีอีกชนิดหนึ่ง ชื่อว่า ไลซินจะฆ่าแอนติเจนหรือเชื้อโรคโดยการสลายเยื้อหุ้มเซลล์ชั้นนอกให้เปลี่ยนเป็นสารที่เรียกว่าไฟบรินซึ่งเป็นเส้นใยสานเป็นร่างแหเป้นลิ่มคล้ายก้อนวุ้น

                  3. Clotting  or  coagulation : การแข็งตัวของเลือด เลือดที่ข้นขึ้น เพื้อที่จะจับตัวเป็นก้อน  หรือแข็งตัวบริเวณบาดแผลนั้น  เกิดจากชิ้นส่วนที่แตกของ เกล็ดเลือดและเซลล์ที่ฉีกขาดจะปล่อยสารเคมีที่เรียกว่า  ทรอมโบพลาสตินซึ่งสารนี้จะไปกระตุ้นให้โปรทรอมบิน (โปรตีนในนํ้าเลือด) กลายเป็นทรอมบิน(เป็นเอนไซม์)จากนั้นทรอมบินจะไปกระตุ้นไฟบริโนเจน  (เป็นโปรตีนอีกชนิดหนึ่งในนํ้าเลือด) ให้เปลี่ยนเปผ้นสารที่เรียกว่า  ไฟบริน  ซึ่งเป็นเส้นใยสานเป็นร่างแหเป็นลิ่มคล้ายก้อนวุ้น

                4.Serum: เซรัม  เป็นของเหลวสีเหลืองประกอบด้วยชิ้นส่วนของเลือดที่ ออกมาหลังจากการแข็งตัว  มีสารแอนติบอดีหลายชนิด ถ้าฉีดเซรัมให้กับคนทั่วๆไปสารนี้สามารถที่จะเป็นภูมิคุ้มกันชั่วคราวในการต่อต้านการติดเชื้อต่างๆได้




ที่มา  http://www.obec.go.th/news/_develop_media/news12/bangkok/17/sec04p01.html
         http://www.student.chula.ac.th/~52370169/new_page_1.htm

สืบค้น ณ วันที่ 01/02/2556

ออกซิเจน




ออกซิเจน





รูปภาพ ออกซิเจน

              ออกซิเจน (อังกฤษ: Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่นๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพืช

 

 แหล่งกำเนิด

             ออกซิเจน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญและมีปริมาณเป็นอันดับ 2 ในส่วนประกอบของบรรยากาศโลกคือมีประมาณ 20.947% โดยปริมาตร

 สารประกอบออกซิเจน

          เนื่องด้วยค่า อิเล็กโตรเนกาติวิตี ของออกซิเจน จะเกิด พันธะเคมี กับธาตุอื่นๆ ได้เกือบหมด (และนี่คือจุดเริ่มต้นของคำจำกัดความว่า ออกซิเดชัน) มีเพียงก๊าซมีตระกูลเท่านั้นที่หนีรอดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันไปได้ และออกไซด์ที่มีชื่อเสียงที่สุดก็คือ ไดไฮโดรเจนโมโนออกไซด์ หรือ น้ำ (H2O).
ตัวอย่างที่รู้จักกันดีของสารประกอบคาร์บอนและออกซิเจนคือ
 ออกซิเจเนต อนุมูล เช่น

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%99

สืบค้น ณ วันที่ 01/02/2556

แบคทีเรีย


แบคทีเรีย




รูปภาพ แบคทีเรีย


            แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแบบ
  • แบ่งตามรูปร่าง แบ่งได้หลายแบบทั้งกลม (cocci) ,แบบท่อน (bacilli,rod) ,แบบเกลียว (spiral) ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีการจัดเรียงเซลล์ต่างกัน
  • แบ่งตามการย้อมติดสีแกรม (Gram's stain) มีได้สองลักษณะคือพวกที่ติดสีแกรมบวก (Gram positive) และที่ติดสีแกรมลบ (Gram negative) แต่บางชนิดสามารถติดสีทั้งสองเรียกว่า Gram variable ซึ่งเกี่ยวข้องกับผนังเซลล์ของแบคทีเรีย
  • แบ่งตามความต้องการใช้อ๊อกซิเจน ซึ่งมีหลายแบบคือ aerobic bacteria, anaerobic bacteria, facultativeaerobic bacteria, microaerofilic bacteria เป็นต้น
  • แบ่งกลุ่มแบคทีเรียตามแหล่งอาหารและพลังงานได้เป็น
    • ออโตโทรป (autothroph) แหล่งคาร์บอนสำหรับสร้างสารอินทรีย์มาจาก CO2 ได้แก่แบคทีเรียที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้
    • เฮเทอโรโทรป (heterothroph) แหล่งคาร์บอนมาจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ ได้แก่แบคทีเรียที่ดูดซับสารอาหารเป็นแหล่งพลังงานทั่วไป
    • โฟโตโทรป (photothroph) ได้พลังงานเริ่มต้นจากแสง
    • คีโมโทรป (chemothroph) ได้พลังงานเริ่มต้นจากสารเคมี
      แบคทีเรียบางชนิดอยู่รอดในสภาพที่เลวร้ายหรือไม่เหมาะสมต่อการเจริญได้โดยการสร้างเอ็นโดสปอร์ (endospore) เมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสม เอ็นโดสปอร์จะดูดซับน้ำและเจริญเป็นแบคทีเรียใหม่ เอ็นโดสปอร์ทำลายยาก บางชนิดอยู่ได้ถึง 100 ปี


     โครงสร้างของแบคทีเรีย



รูปภาพ โครงสร้างของแบคทีเรีย


แบคทีเรียทุกชนิดมีโครงสร้างที่เป็นองค์ประกอบเซลล์ได้แก่

-ผนังเซลล์ (cell wall)
-เซลล์เมมเบรน (cell membrane)
-ไซโตพลาสซึม (cytoplasm)
-โครโมโซมเดี่ยว (single chromosome)
-ไรโบโซม (ribosomes)
-ในแบคทีเรียบางชนิดจะมี
-แคปซูล (capsules)
-ไกโคคาลิกซ์ (glycocalyx)
-พิลไล (pili) หรือฟิมเบรีย (fimbriae)
-มีโซโซม (mesosomes)
-แฟลกเจลลา (flagella)
-อินคลูชั่นแกรนูล (inclusion granules)
-สปอร์ (bacterial spore)



ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

1.สารอาหาร
      แหล่งคาร์บอน (Carbon Sources) แหล่งคาร์บอนอยู่ในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์และสารอินทรีย์ได้แก่คาร์โบไฮเดรท
     แหล่งของอิเล็กตรอน (Electron Sources) แบคทีเรียต้องการอิเล็กตรอนเพื่อใช้ในกระบวนการเมตาบอลิซึม พวกที่ใช้สารอนินทรีย์ เป็นแหล่งอิเล็กตรอนเรียก Lithotroph ส่วนพวกที่ใช้สารอินทรีย์เป็นแหล่งอิเล็กตรอนเรียก Organotroph
    แหล่งไนโตรเจน (Nitrogen sources) แหล่งของไนโตรเจนมีทั้งสารอินทรีย์และอนินทรีย์ แหล่งที่เป็นสารอินทรีย์ เช่น กรดอะมิโน เพปไทด์ โปรตีน แหล่งที่เป็นสารอนินทรีย์ เช่น เกลือไนไตรท์ ไนเตรต หรือ    แอมโมเนียม
    แหล่งของออกซิเจน ซัลเฟอร์ และฟอสฟอรัส ออกซิเจนได้มาจากหลายแหล่ง เช่น น้ำ และสารอาหาร แหล่งของซัลเฟอร์อาจอยู่ในรูปของสารอินทรีย์ หรือสารอนินทรีย์ ซัลเฟอร์มีความจำเป็น ในการสังเคราะห์กรดอะมิโนบางชนิดแหล่งของฟอสเฟตอาจอยู่ในรูปของ ฟอสเฟตที่เป็นองค์ประกอบของกรดนิวคลีอิค นิวคลีโอไทด์ ฟอสโฟลิปิด กรดไทโคอิก และสารอื่น ๆ
ไอออนของโลหะหนัก ไอออนของโลหะหนักมีความจำเป็นต่อการเจริญตามปรกติของแบคทีเรีย เช่น K+, Mg2+, Ca2+, Fe 2+ เป็นต้น ซึ่งบางชนิดจัดเป็น Co facter ที่สำคัญของเอนไซม์ต่าง ๆ
วิตามิน แบคทีเรียต้องการวิตามินในปริมาณน้อย แต่วิตามินมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการ เจริญเติบโตมาก โดยทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ในปฏิกิริยาต่าง ๆ
ความต้องการออกซิเจน

-แบคทีเรียที่ เจริญได้ในที่มีอากาศเท่านั้น (obligate aerobic bacteriaหรือ obligate aerobe)
-แบคทีเรียที่เจริญในที่ไม่มีอากาศเท่านั้น (obligate anaerobic bacteriaหรือ strict anaerobe)
-แบคทีเรียที่เจริญได้ทั้งที่มีและไม่มีอากาศ (facultative anaerobic bacteria หรือ facultative anaerobe)
-แบคทีเรียที่เจริญได้ดีในที่มีอากาศเล็กน้อย (microaerophile)

2.อุณหภูมิ

-แบคทีเรียที่ชอบอุณหภูมิสูง (thermophilic bacteria)
-แบคทีเรียที่ชอบอุณหภูมิปานกลาง (mesophilic bacteria)
-แบคทีเรียที่ชอบอุณหภูมิต่ำ (psychrophilic bacteria)

3.ปริมาณน้ำ (moisture content) และวอเตอร์แอคทิวิตี้ (water activity)



ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0197/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2-bacteria

สืบค้น ณ วันที่ 01/02/2556

ระบบนิเวศ



ระบบนิเวศ





รูปภาพ ระบบนิเวศ


          ระบบนิเวศ


            สิ่งแวดล้อม คือ สรรพสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา แบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบใหญ่ คือ สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ ได้แก่ มนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และอีกองค์ประกอบหนึ่ง คือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ คือ ดิน น้ำ ป่าไม้ อากาศ แสง ฯลฯ และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นได้แก่ สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม เป็นต้น    

        สิ่งแวดล้อมแต่ละบริเวณจะมีความแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิศาสตร์ และสภาพภูมิอากาศ ทำให้กลุ่มสิ่งมีชีวิต(community) อาศัยอยู่ในบริเวณแตกต่างกันไปด้วย ดังตัวอย่างในสระน้ำแห่งหนึ่งในแหล่งน้ำนี้จะมีกลุ่มสิ่งมีชีวิตได้แก่สัตว์น้ำ ทั้งตัวเต็มวัย ตัวอ่อน และพืชน้ำนานาชนิด รวมทั้งสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และจุลินทรีย์จำนวนมากอาศัยอยู่รวมกัน สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กันไปตามบทบาทหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตแต่ละกลุ่ม กล่าวคือ พืชและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีคลอโรฟีลล์ เป็นพวกที่สร้างอาหารได้เองโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง จึงเป็นผู้ผลิตแหล่งอาหารที่สำคัญให้แก่สัตว์ ซึ่งจะกินต่อกันเป็นทอดๆ จากสัตว์กินพืช สัตว์กินสัตว์ และสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารต่อไป เมื่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลายตายลง ก็จะถูกจุลินทรีย์กลุ่มสิ่งมีชีวิตย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตให้เป็นสารอนินทรีย์กลับคืนสู่แหล่งน้ำ

        ในแหล่งน้ำจะมีสารและแร่ธาตุต่างๆละลายปนอยู่ในน้ำ ซึ่งมีปริมาณมากบ้างน้อยบ้างตามฤดูกาล เนื่องจากในหน้าแล้งน้ำก็จะระเหยออกไป ส่วนในฤดูฝนก็จะมีน้ำและสารต่างๆถูกชะล้างจากบริเวณใกล้เคียงไหลลงสู่แหล่งน้ำ จึงทำให้ปริมาณน้ำและสารต่างๆเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

        สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำก็ได้ใช้สารและแร่ธาตุต่างๆในการดำรงชีวิต ได้แก่ การหายใจ การเจริญเติบโต การสังเคราะห์ด้วยแสง ฯลฯ จากกระบวนการเหล่านี้ที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งกระบวนการย่อยสลายของอินทรียสารของพวกจุลินทรีย์ จะมีการปล่อยสารบางอย่างออกสู่แหล่งน้ำ และสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำก็จะใช้สารเหล่านั้นในกระบวนการต่างๆอีกสารและแร่ธาตุต่างๆจึงหมุนเวียนเข้าสู่สิ่งมีชีวิต และปล่อยออกสู่แหล่งน้ำตลอดเวลาวนเวียนเป็นวัฏจักร

        ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในแหล่งน้ำนี้ เช่น มีปริมาณธาตุไนโตรเจนมากเกินไปก็จะมีผลทำให้พืชน้ำหลายชนิดเจริญเติบโตขยายพันธุ์มากและรวดเร็ว ในระยะแรกๆ สัตว์น้ำที่กินพืชเป็นอาหารจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น จนในที่สุดพืชที่เป็นแหล่งอาหารจะลดปริมาณลง ทำให้สัตว์กินพืชลดจำนวนลง และมีผลทำให้สัตว์กินสัตว์ลดจำนวนตามไปด้วย เนื่องจากอาหารไม่เพียงพอ

        ในขณะที่สัตว์และพืชเพิ่มจำนวนมากขึ้น ก็จะเกิดความแออัด จะมีของเสียถ่ายสู่แหล่งน้ำมากขึ้น ทำให้คุณภาพของแหล่งน้ำนั้นเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจส่งผลดีต่อการดำรงชีพของสัตว์และพืชบางชนิด แต่ไม่เหมาะสมสำหรับสัตว์และพืชอีกหลายชนิด ในแหล่งน้ำจึงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และจะพบว่ามีความสัมพันธ์กันภายในอย่างซับซ้อน ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตกับปัจจัยต่างๆในแหล่งน้ำมีการควบคุมตามธรรมชาติที่ทำให้จำนวนและชนิดของสิ่งมีชีวิตอยู่ในภาวะสมดุลได้

        ความสัมพันธ์ในสระน้ำนั้นเป็นตัวอย่างของหน่วยหนึ่งในธรรมชาติ เรียกว่า ระบบนิเวศ(ecosystem) ซึ่งเป็นระบบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันในบริเวณนั้น และความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมของแหล่งที่อยู่ ได้แก่ ดิน น้ำ แสง ในระบบนิเวศจะมีการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่างๆ และมีการหมุนเวียนสารต่างๆจากสิ่งแวดล้อมสู่สิ่งมีชีวิตและจากสิ่งมีชีวิตสู่สิ่งแวดล้อม

        ระบบนิเวศมีทั้งระบบใหญ่ เช่น โลกของเราจัดเป็นระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุด เรียกว่า โลกของสิ่งมีชีวิตหรือชีวภาค (biosphere) ซึ่งรวมระบบนิเวศหลากหลายระบบ และระบบนิเวศเล็กๆ เช่น ทุ่งหญ้า สระน้ำ ขอนไม้ผุ ระบบนิเวศ จำแนกได้เป็น ระบบนิเวศตามธรรมชาติ ได้แก่ ระบบนิเวศบนบก เช่น ป่าไม้ บึง ทุ่งหญ้า ทะเลทราย ระบบนิเวศน้ำ เช่น แม่น้ำลำคลอง ทะเล หนอง บึง มหาสมุทร ระบบนิเวศอีกประเภทหนึ่งคือ ระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ ระบบนิเวศ ชุมชนเมือง แหล่งเกษตรกรรม อุตสาหกรรม เป็นต้น


    ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/5-4/no02-44/biosystem.html
    สืบค้น ณ วันที่ 01/02/2556