วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

เม็ดเลือดขาว




 

เม็ดเลือดขาว






รูปภาพ เซลล์เม็ดเลือดขาว


            เม็ดเลือดขาว (อังกฤษ: White blood cells - leukocytes) เป็นเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งคอยป้องกันร่างกายจากทั้งเชื้อก่อโรคและสารแปลกปลอมต่างๆ เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด ทั้งหมดเจริญมาจาก pluripotent cell ในไขกระดูกที่ชื่อว่า hematopoietic stem cell เซลล์เม็ดเลือดขาวเป็นเซลล์ที่พบได้ทั่วไปในร่างกาย รวมไปถึงในเลือดและในระบบน้ำเหลือง

            จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดมักใช้เป็นข้อบ่งชี้ของโรคและการดำเนินไปของโรค โดยปกติแล้วในเลือดหนึ่งลิตรจะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวอยู่ประมาณ 4×109 ถึง 11×109 เซลล์ รวมเป็นเซลล์ประมาณ 1% ในเลือดของคนปกติ ในบางสภาวะ เช่น ลูคีเมีย (มะเร็งเม็ดเลือดขาว) จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวจะมีปริมาณได้มากกว่าปกติ หรือในภาวะ leukopenia จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวก็จะน้อยกว่าปกติ คุณสมบัติทางกายภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาว เช่น ปริมาตร conductivity และ granularity อาจเปลี่ยนแปลงไประหว่างการกระตุ้นเซลล์ การเจริญของเซลล์ หรือการมีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว


           การเกิดเม็ดเลือดขาวเม็ดเลือดขาวมีต้นกำเนิดจาก PSC เช่นเดียวกับเม็ดเลือดแดงและจะแบ่งสายเซลล์ออกเป็น 2 สาย ในการกำเนิดเม็ดเลือดขาว คือ
1. Myeloid stem cell จะเป็นเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือดแดง,เกร็ดเลือด และเม็ดเลือดขาวชนิดมีแกรนูล (granulocytic)
2. Lymphoid stem cell จะเจริญแบ่งตัวเป็น lymphocyte และ plasma cel

       สำหรับการแบ่งตัวของ Myeloid stem cell ในส่วนของเม็ดเลือดขาว จะเจริญแบ่งเซลล์ออกเป็นสายได้ 2 สาย คือ
1. สายเม็ดเลือดขาวชนิดมีแกรนูล (Granulocytic series)
2. สายเม็ดเลือดขาวชนิดมีนิวเคลียสเดี่ยว (Monocytic series)

1. สายเม็ดเลือดขาวชนิดมีแกรนูล การสร้างเม็ดเลือดขาวในสายนี้ จะเริ่มตั้งแต่

    1.1 มัยอีโลบลาสท์ (Myeloblast) เป็นเซลล์ที่มีขนาดแตกต่างกันได้มาก มีตั้งแต่ขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดงเล็กน้อยจนถึงขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง ๒-๓ เท่า มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๑๐-๒๐ μm
- นิวเคลียสมีขนาดใหญ่เกือบเต็มเซลล์ รูปกลม หรือ รูปไข่ มีโฆรมาตินละเอียดมาก สานกันเป็นร่างแห เห็นพาราโฆรมาตินชัดเจน มีนิวคลิโอไล ๒-๕ อัน
- ไซโตพลาสซึม มีปริมาณน้อย ติดสีน้ำเงิน ไม่มีแกรนูล

    1.2 โปรมัยอีโลซัยท์ (Promyelocyte) มีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อย มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๔-๒๐ μm
- นิวเคลียส ยังคงมีขนาดใหญ่โฆรมาตินหยาบขึ้นยังคงเห็นนิวคลิโอไล แต่มีจำนวนน้อยลง
- ไซโตพลาสซึม มีปริมาณมากขึ้น ติดสีฟ้าจางๆ และเริ่มมีแกรนูลเม็ดเล็กๆติดสีม่วงแดง (azurophillic granules)

    1.3 มัยอีโลซัยท์ (Myelocyte) มีขนาดเล็กลง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๕-๑๘ μm เซลล์ระยะนี้เริ่มมีแกรนูลเฉพาะ ทำให้สามารถแยกชนิดได้เป็น นิวโตรฟิลลิก (neutrophilic), อีโอสิโนฟิลลิก (eosinophilic) และ เบโสฟิลลิก (bosophilic)
- นิวเคลียส มีรูปกลม หรือ รูปไข่ โฆรมาตินหยาบและติดสีเข้มข้น ไม่พบนิวคลิโอไล
- ไซโตพลาสซึม ติดสีฟ้าอมชมพู และมีแกรนูลเฉพาะเช่น นิวโตรฟิลลิก มัยอีโลซัยท์ จะพบแกรนูลขนาดเล็กละเอียด ติดสีชมพูอมม่วงอีโอสิโนฟิลลิก มัยอีโลซัยท์ จะพบแกรนูลขนาดใหญ่เท่าๆ กัน ติดสีส้มแดง เบโสฟิลลิก มัยอีโลซัยท์ จะพบแกรนูลขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้างไม่เท่ากัน ติดสีม่วงอมดำ

    1.4 เมตามัยอีโลซัยท์ (Metamyelocyte) เป็นเซลล์ที่มีขนาดเล็กลงอีกเล็กน้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง
15-18μm
- นิวเคลียส เริ่มคอดเว้าลงมาซึ่งจะไม่เกินครึ่งหนึ่งของบริเวณนิวเคลียสทั้งหมด ลักษณะ นิวเคลียสคล้ายรูปไต หรือ รูปถั่ว มีโฆรมาตินหยาบ ติดสีเข้ม

   1.5 รูปเกือกม้า (Band form) เป็นเซลล์ที่มีขนาดเล็กลงอีก เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐-๑๕ μm
- นิวเคลียส จะเป็นท่อนยาว พบมากเป็นรูปเกือกม้า หรือรูป U ซึ่งทำให้แยกได้ยาก จากรูปเป็นก้อน (segmented form) ดังนั้นจึงมีหลักเกณฑ์ว่า ถ้าบริเวณที่คอดเว้าส่วนที่แคบที่สุดของนิวเคลียส สามารถมองเห็นโฆรมาตินและพาราโฆรมาตินได้ จัดว่าเป็นรูปเกือกม้า แต่ถ้าเส้นที่เชื่อมต่อระหว่างก้อนนิวเคลียสเป็นเส้นบางๆ (มีความหนาน้อยกว่า ๐.๑ μm) จัดเป็นรูปเป็นก้อน อัตราส่วนของ รูปเป็นก้อน : รูปเกือกม้า ในภาวะปกติเท่ากับ ๑๐ : ๑

   1.6 รูปเป็นก้อน (Segmented form) ระยะนี้ นิวเคลียสจะแยกออกจากกันเป็นก้อนๆ (lobe) แต่ละก้อนจะต่อกันด้วยเส้นโฆรมาตินบางๆ แบ่งออกเป็นนิวโตรฟิล (Neutrophil) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐-๑๕ μm ประมาณ ๒ เท่าของเม็ดเลือดแดง
- นิวเคลียส มี ๒-๕ ก้อนโฆรมาตินหยาบมาก ติดสีม่วงเข้ม
- ไซโตพลาสซึม มีปริมาณมากแกรนูลละเอียด ติดสีชมพูอมม่วง กระจายอยู่เต็มเซลล์อีโอสิโนฟิล (Eosinophil) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๒-๑๗ μm มีขนาดใหญ่กว่านิวโตรฟิล
- นิวเคลียส มองเห็นได้ชัดเจน และมักจะพบมี ๒ ก้อน
- ไซโตพลาสซึม เต็มไปด้วยแกรนูลหยาบขนาดใหญ่ เท่าๆกัน ติดสีส้มแดง เบโสฟิล (Basophil) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐-๑๔ μm ซึ่งจะมีขนาดใกล้เคียงกับนิวโตรฟิล
- นิวเคลียส มี ๒-๓ ก้อน แต่มองไม่ชัดเจนเนื่องจากถูกบังด้วยแกรนูลที่มีขนาดใหญ่บ้าง เล็กบ้าง ติดสีม่วงดำ

2. สายเม็ดเลือดขาวชนิดมีนิวเคลียสเดี่ยว มีเซลล์ต้นกำเนิดในระยะแรกร่วมกับสายเม็ดเลือดขาวชนิดมีแกรนูล แต่ลักษณะและกำเนิดจะไม่ชัดเจน ซึ่งสามารถแบ่งการเจริญเติบโตได้ดังนี้

   2.1 โมโนบลาสท์ (Monoblast) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๕-๒๐ μm เป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่
 - นิวเคลียส มีขนาดใหญ่ รูปกลม หรือ รูปไข่ บางครั้งอาจมีรอยคอดหยักโฆรมาติน ละเอียด มองเห็นพาราโฆรมาตินมากมายมีนิวคลิโอไล ๑-๒ อันไซโตพลาสซึม มีปริมาณมาก ติดสีฟ้าอ่อน หรือสีเทา

   2.2 โปรโมโนบลาสท์ (Promonoblast) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๕-๒๕ μm
- นิวเคลียส มีขนาดใหญ่ รูปกลม หรือ รูปไข่ อาจจะมีรอยคอดหยักหรือซ้อนทับกันไปมาโฆรมาตินอยู่กันอย่างหลวมๆ ยังคงมองเห็นนิวคลิโอไล
- ไซโตพลาสซึม สีฟ้าอมเทา มีแกรนูลเม็ดเล็ก ๆ ติดสีม่วงแดง

   2.3โมโนซัยท์ (Monocyte) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๔-๒๐ μm ถึงขนาด ๓๐-๔๐ μm เป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ มีขนาดแตกต่างกันมาก
- นิวเคลียส เป็นลอน คล้ายคลื่นสมอง หรืออุ้งเท้าสัตว์ อาจมีรูปร่างคล้ายเกือกม้าหรือรูปไตโฆรมาตินอยู่กันแบบหลวมๆ เห็นพาราโฆรมาตินชัดเจน ไม่มีนิวคลิโอไล
- ไซโตพลาสซึม มีปริมาณมาก ติดสีฟ้าปนเทา อาจจะพบหรือไม่พบแกรนูลเม็ดเล็ก ๆ ติดสีม่วงแดงก็ได้
กลุ่ม Lymphoid stem cell ซึ่งเจริญแบ่งตัวเป็นสายลิมโฟซัยท์ และพลาสมาเซลล์สายลิมโฟซัยท์ (lymphocyte) ตัวอ่อนจะพบได้น้อยมากในไขกระดูกของคนปกติ ซึ่งจะพัฒนาแบ่งตัวเป็นระยะต่างๆ ดังนี้
ลิมโฟบลาสท์ (Lymphoblast) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๕-๒๐ μm
- นิวเคลียส มีขนาดโตเกือบเต็มเซลล์ มีโฆรมาตินหยาบ มีนิวคลิโอไล ๑-๒ อัน
- ไซโตพลาสซึม มีพื้นที่น้อย ติดสีน้ำเงิน อาจติดสีน้ำเงินเข้ม บริเวณริมเซลล์ และอาจจะเห็นช่องว่างขาวติดกับนิวเคลียส (perinuclear halo)โปรลิมโฟซัยท์ (Prolymphocyte) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๕-๑๘ μm
- นิวเคลียส มีรูปกลม หรือหยักเล็กน้อยโฆรมาตินหยาบ มองเห็นนิวคลิโอไล ๑ อัน
- ไซโตพลาสซึม ติดสีเข้มสม่ำเสมอ อาจจะพบแกรนูลเม็ดเล็ก ๆ ติดสีม่วงแดง ได้ระยะนี้ แยกจากลิมโฟบลาสท์ได้ยากลิมโฟซัยท์ มีขนาดแตกต่างกัน โดยขนาดเล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๖-๙ μm
- นิวเคลียส อาจจะมีรูปร่างกลม รูปไข่ หยักเล็กน้อยคล้ายรูปถั่วหรือรูปไตโฆรมาติน หยาบ เป็นพื้น ติดสีม่วงเข้ม ส่วนใหญ่จะมองไม่เห็นนิวคลิโอไล
- ไซโตพลาสซึม อาจจะมีปริมาณน้อย ติดสีน้ำเงินหรือฟ้าอ่อน ใสลิมโฟซัยท์ขนาดใหญ่จะมี เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๗-๓๐ μm
- นิวเคลียส อาจจะมีรูปร่างกลม รูปไข่ หยักเล็กน้อยคล้ายรูปถั่วหรือรูปไตโฆรมาตินหยาบ เป็นพื้น ติดสีม่วงเข้ม ส่วนใหญ่จะมองไม่เห็นนิวคลิโอไล
- ไซโตพลาสซึม อาจจะมีปริมาณมากติดสีฟ้าอ่อน และใส อาจจะพบแกรนูลเม็ดเล็ก ๆ ติดสีม่วงแดงได้
สายพลาสมาเซลล์ เป็นเซลล์ซึ่งปกติจะอยู่ในเนื้อเยื่อ ไม่พบในกระแสเลือด แหล่งกำเนิด และเซลล์ต้นกำเนิด ยังไม่ทราบแน่ชัด มีการพัฒนา ดังนี้พลาสมาบลาสท์ (Plasmablast) เป็นเซลล์ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘-๒๐ μm
- นิวเคลียส มีรูปร่างกลมหรือรูปไข่ และอยู่ค่อนไปข้างใดข้างหนึ่งของเซลล์ (eccentric nucleus) โฆรมาตินหยาบเล็กน้อย และสานกันเป็นร่างแห เห็น parachromatin มากและชัดเจน มีนิวคลิโอไล ๒-๔ อัน
- ไซโตพลาสซึม ติดสีน้ำเงินเข้มโปรพลาสมาซัยท์ (Proplasmacyte) มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๕-๒๕ μm
- นิวเคลียส รูปกลมหรือรูปไข่ และอยู่ค่อนไปข้างใดข้างหนึ่งของเซลล์ (eccentric nucleus) โฆรมาตินหยาบมากขึ้น อาจจะมองเห็นนิวคลิโอไล ได้
- ไซโตพลาสซึม ติดสีฟ้า และมีช่องว่างขาวติดกับนิวเคลียส ( clear perinuclear zone)พลาสมาซัยท์ หรือพลาสมาเซลล์ เป็นเซลล์ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๔-๒๐ μm หรือประมาณ ๒-๓ เท่าของเม็ดเลือดแดง
- นิวเคลียส มีขนาดเล็กลง มีรูปกลม หรือรูปไข่ อยู่ค่อนไปข้างใดข้างหนึ่งของเซลล์(eccentric nucleus)โฆรมาตินหยาบเป็นปื้น โดยเฉพาะใน section จะพบลักษณะนิวเคลียสคล้ายซี่ล้อเกวียน (cartwhell nucleus) เซลล์ปกติจะไม่มีนิวคลิโอไล
- ไซโตพลาสซึมมีปริมาณค่อนข้างมาก ติดสีฟ้า และเห็นช่องว่างขาวติดกับนิวเคลียสได้ชัดเจน (perinuclear Halo)

หน้าที่ของเม็ดเลือดขาว

     โดยทั่วไปเม็ดเลือดขาวทุกชนิดจะมีหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยจะทำหน้าที่จับกินจุลชีพ แต่ละชนิดที่เข้ามารุกรานร่างกาย ดังนี้

1. สายเม็ดเลือดขาวชนิดมีแกรนูล

    1.1 นิวโตรฟิลจะมีความจำเพาะในการจับกินจุลชีพกลุ่มแบคทีเรีย ดังนั้น จะพบมีปริมาณมากเมื่อมีสภาวะสภาวะการติดเชื้อจากแบคทีเรีย และมักจะพบแกรนูลเม็ดเล็กๆสีม่วงดำ (toxic granules) กระจายอยู่ทั่วไซโตพลาสซึม

   1.2 อีโอสิโนฟิลจะมีความจำเพาะในการจับกินจุลชีพกลุ่มพยาธิ ดังนั้น จะพบมีปริมาณมากเมื่อมีสภาวะการติดเชื้อพยาธิ หรือภาวะภูมิแพ้

   1.3 เบโสฟิลจะมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อการแพ้ต่าง ๆ โดยการหลั่งสารพวกฮีสตามีนเป็นต้น โดยเราสามารถพบภาวะที่เบโสฟิลสูงขึ้นจากหลายสาเหตุ อาทิเช่นภาวะภูมิไวเกิน (hypersensitivity reactions) หรือพวก myeoloproliferative disorder เป็นต้น

2. สายเม็ดเลือดขาวชนิดมีนิวเคลียสเดี่ยว
โมโนซัยท์ จะมีหน้าที่ในการจับกินสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ทั้งภายในหลอดเลือด และนอกหลอดเลือด

3. สายเม็ดเลือดขาวลิมโฟซัยท์

   3.1 ลิมโฟซัยท์จะมีความจำเพาะในจับกินจุลชีพในกลุ่มไวรัส และการสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ดังนั้น จะพบมีปริมาณมากเมื่อมีสภาวะการติดเชื้อจากไวรัส

   3.2 พลาสมาเซลล์ จะมีหน้าที่สร้างสารภูมิคุ้มกัน





ที่มา http://news.giggog.com/325780
        http://sgpt.thai-aip.net/subjects/hematology/wbc.html

สืบค้น ณ วันที่  01/02/2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น