วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

แบคทีเรีย


แบคทีเรีย




รูปภาพ แบคทีเรีย


            แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแบบ
  • แบ่งตามรูปร่าง แบ่งได้หลายแบบทั้งกลม (cocci) ,แบบท่อน (bacilli,rod) ,แบบเกลียว (spiral) ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีการจัดเรียงเซลล์ต่างกัน
  • แบ่งตามการย้อมติดสีแกรม (Gram's stain) มีได้สองลักษณะคือพวกที่ติดสีแกรมบวก (Gram positive) และที่ติดสีแกรมลบ (Gram negative) แต่บางชนิดสามารถติดสีทั้งสองเรียกว่า Gram variable ซึ่งเกี่ยวข้องกับผนังเซลล์ของแบคทีเรีย
  • แบ่งตามความต้องการใช้อ๊อกซิเจน ซึ่งมีหลายแบบคือ aerobic bacteria, anaerobic bacteria, facultativeaerobic bacteria, microaerofilic bacteria เป็นต้น
  • แบ่งกลุ่มแบคทีเรียตามแหล่งอาหารและพลังงานได้เป็น
    • ออโตโทรป (autothroph) แหล่งคาร์บอนสำหรับสร้างสารอินทรีย์มาจาก CO2 ได้แก่แบคทีเรียที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้
    • เฮเทอโรโทรป (heterothroph) แหล่งคาร์บอนมาจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ ได้แก่แบคทีเรียที่ดูดซับสารอาหารเป็นแหล่งพลังงานทั่วไป
    • โฟโตโทรป (photothroph) ได้พลังงานเริ่มต้นจากแสง
    • คีโมโทรป (chemothroph) ได้พลังงานเริ่มต้นจากสารเคมี
      แบคทีเรียบางชนิดอยู่รอดในสภาพที่เลวร้ายหรือไม่เหมาะสมต่อการเจริญได้โดยการสร้างเอ็นโดสปอร์ (endospore) เมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสม เอ็นโดสปอร์จะดูดซับน้ำและเจริญเป็นแบคทีเรียใหม่ เอ็นโดสปอร์ทำลายยาก บางชนิดอยู่ได้ถึง 100 ปี


     โครงสร้างของแบคทีเรีย



รูปภาพ โครงสร้างของแบคทีเรีย


แบคทีเรียทุกชนิดมีโครงสร้างที่เป็นองค์ประกอบเซลล์ได้แก่

-ผนังเซลล์ (cell wall)
-เซลล์เมมเบรน (cell membrane)
-ไซโตพลาสซึม (cytoplasm)
-โครโมโซมเดี่ยว (single chromosome)
-ไรโบโซม (ribosomes)
-ในแบคทีเรียบางชนิดจะมี
-แคปซูล (capsules)
-ไกโคคาลิกซ์ (glycocalyx)
-พิลไล (pili) หรือฟิมเบรีย (fimbriae)
-มีโซโซม (mesosomes)
-แฟลกเจลลา (flagella)
-อินคลูชั่นแกรนูล (inclusion granules)
-สปอร์ (bacterial spore)



ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

1.สารอาหาร
      แหล่งคาร์บอน (Carbon Sources) แหล่งคาร์บอนอยู่ในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์และสารอินทรีย์ได้แก่คาร์โบไฮเดรท
     แหล่งของอิเล็กตรอน (Electron Sources) แบคทีเรียต้องการอิเล็กตรอนเพื่อใช้ในกระบวนการเมตาบอลิซึม พวกที่ใช้สารอนินทรีย์ เป็นแหล่งอิเล็กตรอนเรียก Lithotroph ส่วนพวกที่ใช้สารอินทรีย์เป็นแหล่งอิเล็กตรอนเรียก Organotroph
    แหล่งไนโตรเจน (Nitrogen sources) แหล่งของไนโตรเจนมีทั้งสารอินทรีย์และอนินทรีย์ แหล่งที่เป็นสารอินทรีย์ เช่น กรดอะมิโน เพปไทด์ โปรตีน แหล่งที่เป็นสารอนินทรีย์ เช่น เกลือไนไตรท์ ไนเตรต หรือ    แอมโมเนียม
    แหล่งของออกซิเจน ซัลเฟอร์ และฟอสฟอรัส ออกซิเจนได้มาจากหลายแหล่ง เช่น น้ำ และสารอาหาร แหล่งของซัลเฟอร์อาจอยู่ในรูปของสารอินทรีย์ หรือสารอนินทรีย์ ซัลเฟอร์มีความจำเป็น ในการสังเคราะห์กรดอะมิโนบางชนิดแหล่งของฟอสเฟตอาจอยู่ในรูปของ ฟอสเฟตที่เป็นองค์ประกอบของกรดนิวคลีอิค นิวคลีโอไทด์ ฟอสโฟลิปิด กรดไทโคอิก และสารอื่น ๆ
ไอออนของโลหะหนัก ไอออนของโลหะหนักมีความจำเป็นต่อการเจริญตามปรกติของแบคทีเรีย เช่น K+, Mg2+, Ca2+, Fe 2+ เป็นต้น ซึ่งบางชนิดจัดเป็น Co facter ที่สำคัญของเอนไซม์ต่าง ๆ
วิตามิน แบคทีเรียต้องการวิตามินในปริมาณน้อย แต่วิตามินมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการ เจริญเติบโตมาก โดยทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ในปฏิกิริยาต่าง ๆ
ความต้องการออกซิเจน

-แบคทีเรียที่ เจริญได้ในที่มีอากาศเท่านั้น (obligate aerobic bacteriaหรือ obligate aerobe)
-แบคทีเรียที่เจริญในที่ไม่มีอากาศเท่านั้น (obligate anaerobic bacteriaหรือ strict anaerobe)
-แบคทีเรียที่เจริญได้ทั้งที่มีและไม่มีอากาศ (facultative anaerobic bacteria หรือ facultative anaerobe)
-แบคทีเรียที่เจริญได้ดีในที่มีอากาศเล็กน้อย (microaerophile)

2.อุณหภูมิ

-แบคทีเรียที่ชอบอุณหภูมิสูง (thermophilic bacteria)
-แบคทีเรียที่ชอบอุณหภูมิปานกลาง (mesophilic bacteria)
-แบคทีเรียที่ชอบอุณหภูมิต่ำ (psychrophilic bacteria)

3.ปริมาณน้ำ (moisture content) และวอเตอร์แอคทิวิตี้ (water activity)



ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0197/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2-bacteria

สืบค้น ณ วันที่ 01/02/2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น